กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้แก่เยาวชน ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
รหัสโครงการ 68-L1485-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 12 กันยายน 2568
งบประมาณ 10,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอนงค์นุช อ่อนเกตุพล นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นอกจากเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้วยังมีโรคติดต่อที่อุบัติขึ้นมาใหม่และโรคติดต่ออุบัติซ้ำสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต การรับประทานอาหาร ความก้าวหน้าในการรักษาโรคต่าง ๆ ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับโรคติดต่ออุบัติซ้ำ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ซึ่งมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค โรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรค COVID-19 โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯลฯ และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก ทางรพ.สต.บ้านลำปลอก มีเขตรับผิดชอบจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 บ้านลำปลอก หมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งข่า และหมู่ที่ 13 บ้านพรุราชา ซึ่งทั้ง 4 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยจากโรคติดต่อ ในปี 2567 มีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก จำนวน  7 ราย โรคฉี่หนู 4 ราย และโรคติดต่ออื่นๆ ทำให้คนในหมู่บ้านป่วย และเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาในการรักษาพยาบาล และอาจเสียชีวิตได้
ในขณะเดียวกันการระบาดของโรคเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วนับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนอย่างมากจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดและระบาดของโรคติดต่อให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยคนในครัวเรือน ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการควบคุมและทำลายแหล่งของเชื้อโรคในบ้านและบริเวณบ้านของตน อย่างจริงจัง และต่อเนื่องสืบไป ซึ่งจะนำไปสู่การปลอดภัยจากโรคติดต่อและการมีสุขภาพที่ดีโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอกจึงจัดทำโครงการให้ความรู้แก่เยาวชน ซึ่งเยาวชนในเขตรับผิดชอบ อายุ 11- 15 ปี ทั้ง 4 หมู่ เป็นจำนวน 141 ราย ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน เพื่อควบคุมป้องกันการเกิดโรคติดต่อและโรคอุบัติซ้ำเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก มีการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ให้ประสบผลสำเร็จ และ เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเยาวชนที่มีความรู้และศักยภาพ
ในการกำจัดพาหะนำโรค และแหล่งเกิดโรค รวมถึงการป้องกันตนเองของคนในชุมชน และการเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนในชุมชน ทางรพ.สต. บ้านลำปลอก ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้แก่เยาวชน ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ประจำปี 2568 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อและการป้องกันโรคติดต่อ

 

2 2. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

 

3 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อและการป้องกันโรคติดต่อ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านลำปลอก เพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
        2.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับทราบสถานการณ์โรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน     2.2อบรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนโดยให้ความรู้ในโรคติดต่อและโรคอุบัติการณ์ใหม่
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น สามารถดูแลตนเองและบุคคลใกล้ชิดในการป้องกันโรคติดต่อได้
  2. เยาวชนและชุมชนมีการเร่งรัดในการเฝ้าระวัง มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องขึ้นในชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายในการการควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ได้ 3.อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2568 09:48 น.