กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมการป้องกันการตกน้ำจมน้ำในพื้นที่ตำบลสุคิริน
รหัสโครงการ 61-L2534-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุคิริน
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 24,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคมสรรค์ ชื่นรัมย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.951,101.697place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าการตกน้ำจมน้ำของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 รองจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) และเอดส์ (HIV) มีจำนวนการเสียชีวิตปีละ 140,219 คน สำหรับประเทศไทย พบการเสียชีวิตจากการจมน้ำสูงเป็นอันดับ 1 ซึ่งมากกว่าทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เฉลี่ยปีละ 1,015 คน ในปี 2559 เสียชีวิต 713 คน อัตราต่อแสนประชากรเท่ากับ 6.2 สำหรับอำเภอสุคิริน พบการเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำจำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราส่วนต่อแสนประชากรเท่ากับ 20 จากข้อมูลแสดงพบว่าในพื้นที่อำเภอสุคิริน ยังเป็นพื้นที่เสี่ยงอยู่ในระดับสีเหลืองที่ส่งผลให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีโอกาสเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำได้ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเล่นน้ำของเด็ก เช่นอากาศร้อน สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำธรรมชาติได้ง่าย และไม่มีผู้ดูแล และอีกหนึ่งสาเหตุคือพฤติกรรมการเล่นน้ำของเด็กๆ การป้องกันตนเอง และไม่มีทักษะในการช่วยเหลือหรือเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ตกน้ำจมน้ำได้ ดังนั้นความรู้ในการป้องกันตนเอง การช่วยฟื้นคืนชีพ รวมทั้งทักษะในการช่วยชีวิต โดยใช้หลักการตะโกน โยน ยื่น และหลักการอย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม สำหรับเด็ก 0-5 ปี พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ำจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ งานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาเพื่อลดการเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่อำเภอสุคิริน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์เด็กเล็ก มีความรู้ และเข้าใจในหลักการอย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม

เด็กนักเรียนในศูนย์เด็กเล็กสามารถตอบคำถามในหลักการอย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้มได้ร้อยละ 80

2 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 มีความรู้ ทักษะและการปฏิบัติในหลักการตะโกน โยน ยื่น และการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 ในพื้นที่เทศบาลตำบลสุคิริน มีความรู้ ทักษะและการปฏิบัติในหลักการตะโกน โยน ยื่น การช่วยฟื้นคืนชีพเมื่อประสบเหตุตกน้ำจมน้ำ ร้อยละ 80

3 เพื่อให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกน้ำจมน้ำ

กลุ่มเป้าหมายที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี สามารถตอบแบบสอบถามด้านพฤติกรรมป้องกันการตกน้ำจมน้ำร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. นำเสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสุคิริน
  2. จัดทำโครงการ เสนอต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสุคิริน
  3. ประสานงาน วิทยากร ผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่
  4. กำหนดวันและเวลาที่จะดำเนินการ
  5. ดำเนินการตามโครงการ ร่วมกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  6. สรุปผลการดำเนินโครงการ และนำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสุคิริน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมในการป้องันตนเองจากการตกน้ำจมน้ำ
  2. กลุ่มเป้าหมายไม่เสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำ
  3. มีทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ ว่ายน้ำ ลอยตัว การช่วยผู้ประสบเหตุตกน้ำจมน้ำได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2561 11:09 น.