โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L1485-1-21 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก |
วันที่อนุมัติ | 13 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 12 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววิภาดา เกื้อสา นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สำหรับประเทศไทยการดำเนินการด้านสงเคราะห์ พัฒนา และฟื้นฟูคนพิการ กล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลและแรงผลักดันจากภายนอกประเทศทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับคนพิการเป็นอย่างมาก จากการที่รัฐบาลได้วางนโยบาย ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ที่ 4 นโยบายสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ข้อ 4.5 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม ข้อ 4.5.5 เสริมสร้างให้ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะต่าง ๆ สำหรับรองรับผู้สูงอายุและคนพิการ
ดังนั้นเพื่อให้มีการดูแลผู้พิการอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ทางรพ.สต.บ้านลำปลอก มีเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 บ้านลำปลอก หมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งข่า และหมู่ที่ 13 บ้านพรุราชา ซึ่งทั้ง 4 หมู่บ้าน มีผู้พิการ ทั้งหมดจำนวน 102 คน โดยมีผู้พิการทางกายการเคลื่อนไหว ผู้พิการด้านสติปัญญา สายตาและการได้ยิน จึงเห็นถึงคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ จึงพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการรวมทั้งผู้พิการรายเดิมที่จำเป็น ต้องได้รับการดูแล และผู้พิการที่ยังไม่เคยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พิการในชุมชนที่ดีขึ้นและคลอบคลุมทุกพื้นที่ของบ้านลำปลอกตำบลปะเหลียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการในชุมชน โดยให้ผู้ดูแล อสม. และผู้นำชุมชน มีความรู้ในหลักการคัดกรองผู้พิการรายใหม่ การเข้าไปดูแล สิทธิประโยชน์ต่างๆของผู้พิการและมีความรู้ในการดำเนินงานได้ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนในการดูแลช่วยเหลือสังคมและสนับสนุนให้คนพิการและทุพพลภาพ ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในชุมชนในการดูแลสนับสนุนคนพิการและทุพพลภาพให้สามารถมีชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้ดูแล อสม. และผู้นำในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจ การคัดกรอง การดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และช่วยให้ผู้พิการได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น
|
||
2 | 2. เพื่อให้ผู้ดูแล อสม. และผู้นำในชุมชน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการช่วยเหลือผู้พิการในชุมชน
|
||
3 | 3. เพื่อให้การดำเนินงานผู้พิการในชุมชนมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ผู้พิการและทุพพลภาพ ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ลดปัญหาและภาวะโรคต่าง ๆ เช่น การเกิดแผลกดทับ เป็นต้น
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ขั้นเตรียมการ
ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านลำปลอก เพื่อจัดทำโครงการ จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ - ขั้นดำเนินการ
2.1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดกรอง การดูแลผู้พิการในชุมชน 2.2 อบรมสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ 2.3 บทบาทของผู้ดูแล อสม. และผู้นำชุมชนในการปฏิบัติงานผู้พิการ 2.4 เยี่ยมบ้านผู้พิการในชุมชน จำนวน 10 หลัง - สรุปผลการดำเนินโครงการ
- ผู้ดูแล อสม.และผู้นำชุมชนมีความรู้ สามารถคัดกรองผู้พิการรายใหม่และแนะนำได้ ผู้พิการสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขและได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
- ผู้ดูแล อสม.และผู้นำชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานพิการ ช่วยเหลือผู้พิการในชุมชนได้
- การดำเนินงานพิการในชุมชนมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ผู้พิการและทุพพลภาพ ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีสุขภาพกายใจที่ดี ลดปัญหาและภาวะโรคต่าง ๆ เช่น การเกิดแผลกดทับ เป็นต้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2568 09:54 น.