โครงการกำจัดเหาเพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการกำจัดเหาเพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียน |
รหัสโครงการ | L3313 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดแหลมจองถนน |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 6,980.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุวิทย์ ขำคล้าย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.489,100.194place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเด็กเยาวชนได้เห็นความสำคัญของการออกกำลังกายมากขึ้น โดยจะเน้นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและมีการออกกำลังกายในกิจกรรมต่างๆ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาเพื่อให้ เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพตามการจัดการเรียนการสอน การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ การเคลื่อนไหวการ ออกกำลังกายการเล่นเกมกีฬาไทยและกีฬาสากลการสร้างเสริมสุขภาพสมรรถภาพทางกาย มีวินัย กฎ กติกา มีทักษะในการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 การจัดการเรียนการสอนเนื้อหาของวิชาพลศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาในการเรียนรู้พลศึกษา การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนซึ่ง เป็นสาระพื้นฐานหรือรายวิชาบังคับสาหรับนักเรียนทุกคน (100%) เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการทั้ง ด้านความรู้เจตคติทักษะสมรรถภาพทางกายและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (คุณธรรมและจริยธรรม) สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ,2552) กระทรวงศึกษาธิการ (2551) กล่าวว่า สุขศึกษาพลศึกษาเป็นการศึกษาด้านสุขภาพที่มีเป้าหมายเพื่อการดำรงสุขภาพการสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลครอบครัวและชุมชนให้ยั่งยืนสุขศึกษามุ่งเน้นให้นักเรียนพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้เจตคติคุณธรรมค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่ไปด้วยกัน พลศึกษามุ่งเน้นให้นักเรียนใช้กิจกรรมการ เคลื่อนไหวการออกกำลังกายการเล่นเกมและกีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคม สติปัญญารวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา (กระทรวงศึกษาธิการ,2552) พลศึกษาก็จะได้เรียนรู้ทักษะ พื้นฐานการเคลื่อนไหวต่างๆ ดังนี้ 1. การเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นแบบผลัดในลักษณะผสมผสานในการร่วมกิจกรรมทางกาย เช่นกิจกรรมแบบผลัดกายบริหารประกอบเพลงยืดหยุ่นขั้นพื้นฐานที่ใช้ท่าต่อเนื่องและการต่อตัวท่าง่ายๆ 2. การเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรงการใช้แรงและความสมดุลกับการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวในการเล่นเกมและกีฬา 3. การเล่นกีฬาไทยกีฬาสากลประเภทบุคคลและประเภททีม เช่น กรีฑาประเภทลู่และลาน เปตอง ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล ฟุตบอลตะกร้อวง 4. การใช้ข้อมูลด้านทักษะกลไกเพื่อปรับปรุงและเพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติ กิจกรรมทางกายและเล่นกีฬา และ 5. การนำความรู้และหลักการของกิจกรรมนันทนาการไปใช้เป็นฐานการศึกษาหาความรู้ เปตองเป็นกีฬาที่เล่นกลางแจ้งประเภทหนึ่ง เริ่มแพร่หลายดังเช่นปัจจุบันเมื่อราว ค.ศ. 1910 โดยกลุ่มโปรวังซาล (Provoncal) ซึ่งเดิมทีเป็นการโยนลูกทรงกลม ทำด้วยไม้ลังตอกย้ำด้วยหมุดหัว ตะปู และปรับแต่งโดยช่างฝีมือ และมีการวิ่งโยนลูกดังกล่าว ต่อมาผู้เป็นแชมป์ โปรวังซาลเกิด พิการ ต้องนั่งรถเข็น แต่ยังมีความสามารถในการโยนลูกบอลแต่อยูกับที่ ดังนั้นลูกโปรวังซาลจึงถูกดัดแปลงให้เล็กลง และโยนโดยไม่ต้องวิ่ง คำว่า ่ “เปตอง” นี้ ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง สองเท้าคู่อยู่ กับที่ (เตชะ พุมานนท์,2556,น. 1) กีฬาเปตองกำลังเป็นกีฬาที่ได้รับความแพร่หลายในเมืองไทย โดยมีการจัดการแข่งขันทุกระดับ เช่น การ แข่งขันชิงแชมป์โลก การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ การแข่งขันกีฬากองทัพไทยการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย การแข่งขันกีฬาในหน่วยงานรัฐบาลและวิสาหกิจการแข่งขันกีฬานักเรียนโรงเรียนสาธิตและในปี พ.ศ. 2536 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาระดับประชาชนเข้าแข่งขันชิงแชมป์โลก ที่ประเทศโมรอคโค ผลการแข่งขันปรากฏว่าเยาวชนไทยได้ อันดับที่ 4 ของการแข่งขัน ปัจจุบันกีฬาเปตองได้พัฒนาจากเกมมาสู่กีฬาอย่างเต็มรูปแบบโดยเฉพาะในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุกีฬาเปตองเป็นวิชาเลือกเสรีของวิชาพลานามัย ในระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษา และยังมีการจัดการแข่งขันอีกด้วย เช่น การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายให้กับ นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน โดยการเล่นกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อส่งเสริมให้ นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน มีการดูแลสุขภาพของตนเอง ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด และเกิดแกนนำสุขภาพในโรงเรียน 3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคภัยเงียบที่มาจากวิถีชีวิต ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดัน โรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรคอ้วน
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายให้กับ นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน โดยการเล่นกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อส่งเสริมให้ นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน มีการดูแลสุขภาพของตนเอง ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด และเกิดแกนนำสุขภาพในโรงเรียน 3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคภัยเงียบที่มาจากวิถีชีวิต ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดัน โรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรคอ้วน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ค่าใช้จ่ายในการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเล่นกีฬาเปตอง ให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน และบุคคลที่สนใจในชุมชนใกล้เคียง
- ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2x2.5 เมตร เป็นเงิน 532 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ สำหรับการเล่นกีฬาเปตอง
2.1 ลูกเปตอง สำหรับการแข่งขัน ชุดละ 12 ลูก
จำนวน 4 ชุด (ชุดละ 1,536 บาท) เป็นเงิน 6,144 บาท 2.2 ลูกเปตองพลาสติกสำหรับเด็ก จำนวน 2 ชุด (ชุดละ 490 บาท) เป็นเงิน 980 บาท 2.3 วงแหวนเปตอง (มาตรฐาน 50 ซม.) จำนวน 4 วง (วงละ 166 บาท) เป็นเงิน 664 บาท 2.4 ลูกแก่นเปตอง ไม้จริง
จำนวน 4 ลูก (ลูกละ 115 บาท) เป็นเงิน 460 บาท
2.5 ตลับเมตรพกพา ขนาด 5เมตร พร้อมตัวล็อคสายวัด จำนวน 1 ชิ้น (ชิ้นละ 170 บาท) เป็นเงิน 170 บาท
รวมทั้งสิ้น 8,950 บาท หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
- นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน หันมาออกกำลังกาย ด้วยการเล่นกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพย่างต่อเนื่อง
- นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด และเกิดแกน นำสุขภาพในชุมชน
- นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน ลดอัตราการเกิดโรคภัยเงียบที่มาจากวิถีชีวิต ได้แก่ โรคเบา หวาน ความดัน โรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมองและโรคอ้วน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2568 10:04 น.