โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (๒๖ มิถุนายน)
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (๒๖ มิถุนายน) |
รหัสโครงการ | L3313 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลจองถนน |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 มิถุนายน 2568 - 26 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,985.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประพันธ์ อินทรัตน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.489,100.194place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 103 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ยาเสพติดเป็นปัญหาต่อสังคมโดยเฉพาะเยาวชนของไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน แม้ทุกรัฐบาลจะมีนโยบายปราบปรามและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง มีบทลงโทษที่รุนแรงต่อผู้ค้าหรือผู้จำหน่ายแต่ปัญหายาเสพติดก็มิได้หมดไปจากสังคม ผลกระทบของยาเสพติดยังคงสร้างปัญหาให้กับเยาวชนไทย ปัจจุบันการแพร่ระบาดของยาเสพติดได้กลับมาสู่ภาวะที่มีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินความสงบสุขของประชาชนและสังคม รวมทั้งเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศเมื่อยาเสพติดได้ระบาดสู่สังคม ชุมชน ปัญหาอาชญากรรมต่างๆก็เกิดขึ้นตามมา นอกจากนั้นยาเสพติดยังได้สร้างปัญหาความรุนแรงและความแตกแยกในระดับครอบครัว เยาวชนจำนวนมากที่ตกเป็นทาสของยาเสพติดและนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบนและก่อการกระทำความผิดต่อผู้อื่น ส่งผลกระทบต่อตนเอง สังคม สุขภาพอนามัย และผลกระทบด้านความมั่นคงของประเทศในที่สุด โดยสาเหตุของการเกิดปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน พบว่ามาจากหลายสาเหตุ จำแนกสาเหตุที่เกิดจากภายในจิตใจของตัวบุคคล เช่น ความคิด ความเชื่อ ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะการใช้ชีวิตนอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้าของสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นปัจจัยสิ่งแวดล้อมในสังคมที่มีอิทธิพล เช่น ชุมชน สถานศึกษา กลุ่มเพื่อน ครอบครัว เป็นต้น ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมและเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจูงใจในการเริ่มต้นนำยาทางการแพทย์มาใช้ในทางที่ผิด เพราะอยากรู้อยากลอง สำหรับแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนไว้ 2 แนวทาง ได้แก่ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภายนอกของเด็กและเยาวชนในระดับบุคคลด้วยการเสริมสร้างการเรียนรู้ฝึกฝนทักษะและการปรับเปลี่ยนวิถีความเชื่อของเด็กและเยาวชน ในการรับมือกับสถานการณ์หรือสิ่งเร้า เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถตัดสินใจแสดงออกพฤติกรรมที่เหมาะสม และการลดทอนสภาพสิ่งเร้าของปัญหายาเสพติด เป็นการจัดการหรือควบคุมสภาพแวดล้อมภายนอกที่อาจส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น การจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังคมที่พักอาศัย การจัดการกับพื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติดรุนแรง เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กนักเรียนที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น เทศบาลตำบลจองถนนจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (๒๖ มิถุนายน) ประจำปี ๒๕๖๘ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดแก่เด็กนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ ของสถานศึกษาในพื้นที่ตำบลจองถนน ๒. เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของยาเสพติดในกลุ่มเด็กนักเรียน ๓. เพื่อสนับสนุนการป้องกันยาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล ร้อยละ 90 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดแก่เด็กนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ ของสถานศึกษาในพื้นที่ตำบลจองถนน ๒. เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของยาเสพติดในกลุ่มเด็กนักเรียน ๓. เพื่อสนับสนุนการป้องกันยาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
๑. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน ๑๐๓ คน/วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑๗ คน
- จำนวน ๑20 คน / ๒๕ บาท/มื้อ จำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน 3,000-บาท
2. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาดกว้าง ๑.๕๐ ม. ยาว ๓.๐๐ ม.
- จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน 810.-บาท
3. ค่าเช่าเก้าอี้พลาสติก
- จำนวน 120 ตัว/๕ บาท/ตัว เป็นเงิน600.-บาท
4. ค่าเช่าพัดลมอุตสาหกรรม
- จำนวน 4 ตัว/1๐๐ บาท/ตัว เป็นเงิน๔๐๐.-บาท
5. ค่าตอบแทนวิทยากร
- จำนวน 3 ชั่วโมง/๑,๒๐๐ บาท/ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600.-บาท
6. ค่าวัสดุอุปกรณ์การอบรม (สมุด ปากกา)
- จำนวน ๑๐๓ ชุด /๒๕ บาท/ชุด เป็นเงิน ๒,๕๗๕.-บาท
รวมทั้งสิ้น 10,985.-บาท
๑. เด็กนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ ของสถานศึกษาในพื้นที่ตำบลจองถนน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ไห้เด็กไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ๒. เด็กนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ตนเองและครอบครัว ตลอดจนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพในระดับสถานศึกษาและชุมชน ๓. เด็กนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาสู่ชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2568 10:53 น.