โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68L7487312 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองตากใบ |
วันที่อนุมัติ | 4 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 99,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวิไลวรรณ แวยูโซ๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางมณี เทพจันทร์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีเป้าหมายทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่สำคัญประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การมีอายุยืนยาวและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การที่ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงในทุกช่วงวัยทำให้มีอายุยืนยาวเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุยืนยาวไม่เจ็บป่วยเป็นโรค เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากคุณภาพชีวิตประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้านรวมกัน ได้แก่ สุขภาพด้านกายภาพ (physical health) สุขภาพด้านจิตใจ (mental health) สุขภาพด้านสังคม (social health) และภาวะสุขภาพโดยทั่วไป (general health) โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของ “สุขภาพ” ว่าไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรค แต่หมายถึงการมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งจะสอดคล้องกับนิยามของคุณภาพชีวิตที่กล่าวว่า “คุณภาพชีวิต” เป็นการรับรู้ความพึงพอใจและสถานะของบุคคลในการดำรงชีวิตในสังคม โดยจะสัมพันธ์กับเป้าหมายและความคาดหวังของตนเอง ภายใต้บริบทของวัฒนธรรม ค่านิยม มาตรฐานของสังคม” และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) สุขภาพทางกาย (Physical Health) คือ มีสภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีการพัฒนาที่เหมาะสมกับวัย สังเกตได้จากการที่บุคคลนั้นมีความสมบูรณ์แข็งแรง ระบบและอวัยวะทุกส่วนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีสมรรถภาพสูง สามารถทำงานได้นานๆ โดยไม่เหนื่อยง่าย การนอนและการพักผ่อนเป็นไปตามปกติ ผิวพรรณ ผุดผ่อง รูปร่างทรวดทรงสมส่วน เป็นต้น 2) สุขภาพทางจิต (Mental Health) คือ มีสภาพจิตปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย หรือคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” 3) สุขภาพทางสังคม (Social Health) คือ การมีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน สามารถเข้ากับบุคคลและชุมชนได้ทุกสถานะอาชีพ ไม่เป็นคนถือตัว ไม่เป็นคนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น เป็นที่เคารพรักและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป
องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ให้นิยาม ผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึงประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปและได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากร ทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
- ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
- ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ ในปัจจุบันข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 256๗ เทศบาลเมืองตากใบมีประชากรทั้งสิ้น 2๐,1๖๐ คน และมีผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน ๒,5๐๗ คน คิดเป็นร้อย 1๒.๔๓ ของประชากรในเขตเทศบาล จึงทำให้เทศบาลเมือง ตากใบอยู่ในระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้อายุ ดังนั้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองตากใบ โดยการจัดตั้ง ของเทศบาลเมืองตากใบ ได้ตระหนักเห็นการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกด้าน ได้แก่ สุขภาพด้านกายภาพ (physical health) สุขภาพด้านจิตใจ (mental health) สุขภาพด้านสังคม (social health) และภาวะสุขภาพโดยทั่วไป (general health) จึงขอเสนอโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ที่มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้สูงอายุ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาทักษะด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี โดยประสานวิทยากรหลากหลายสาขาอาชีพมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุที่มาเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนงานโครงการฯ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพัฒนาการทางด้านสุขภาพกายที่เหมาะสมกับวัย 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพื้นที่ทางสังคมในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชน 3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะทางสังคม ความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง ปกติสุข
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
4.1 ระยะก่อนดำเนินการ
- ขออนุมัติโครงการ
- แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ
- ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนงานโครงการและขออนุมัติจากผู้มีอำนาจ
- ประชาสัมพันธ์ ไปยังกลุ่มพลังมวลชนในพื้นที่และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ผ่านช่องทางการสื่อสาร
- ประเมินผลการดำเนินโครงการก่อนดำเนินการ
4.2 ระหว่างดำเนินการ
- เปิดโครงการ
- การจัดกิจกรรมตามแผนงานโครงการ โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
- ประเมินผลการดำเนินโครงการระหว่างดำเนินการ
4.3 หลังดำเนินการ
- ประเมินผลการดำเนินโครงการก่อนดำเนินการ
- รายงานผลโครงการฯ ตามระเบียบกองทุน สปสช.
- ผู้สูงอายุมีความรู้ ทักษะและพัฒนาการทางด้านสุขภาพกาย จิตใจที่เหมาะสมกับวัย ๒. ผู้สูงอายุมีพื้นที่ทางสังคมในการทำกิจกรรมร่วมกัน นำไปสู่สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
- ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้
เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ มีสุขภาวะทางสังคม ความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง
ปกติสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2568 15:08 น.