กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 02/2568
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 1 มีนาคม 2569
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 54,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกาญจนา ขันทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวโชติกา นนทะพันธ์ุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และยังมีแนวโน้มว่าเป็นปัญหาในอนาคต เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตาย และการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและสังคม ปัจจุบันโรคไข้เลือดอออกสามารถเกิดขึ้นได้ดอดทั้งปี แต่จะมีการระบาดมากช่วงหน้าฝน โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดปีเว้น 2 ปี แต่ปัจจุบันพบมีการระบาดทุกปี การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือบูรณาการจากประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังอย่างโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จากการศึกษาสาเหตุที่สำคัญของการดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ประสบความสำเร็จ คือ ประชาชนขาดความตระหนัก และขาดความเอาใจใส่ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำน้ำยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง หากปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้รับการแก้ไข เร่งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรค และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคในชุมชนอย่างเหมาะสม จะทำให้อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและผลกระทบด้านสุขภาพต่อประชาชนในชุมชนลดลง ประชาชนในชุมชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีสุขภาวะที่ดี องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาดได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อและปัจจัยเสี่ยงของภัยสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ รวมถึงการสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพที่ดี ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก

 

2 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน และชุมชนของตนเอง

 

3 3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมป้องกันโรค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขออนุมัติจัดทำโครงการจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด
  2. ขออนุมัติงบประมาณจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด
  3. ประชุมผู้นำชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน
  4. จัดทำเตรียมอุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ
  5. ดำเนินงานตามโครงการ
  6. สรุปผลและรายงานผลดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการอัตราการป่วยจากไข้เลือดออกลดลง
  2. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนักในการป้องกันตนเอง และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่ง
      เพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเอง
  3. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2568 10:04 น.