โครงการชุมชนสะอาด ปลอดขยะ ปลอดโรค
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนสะอาด ปลอดขยะ ปลอดโรค |
รหัสโครงการ | 68-L8302-2-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต. บ้านสะโล |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 29,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมาสตูรา เปาะเยะ นางมาริสา แก้วสุกแสง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาล ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน | 65.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความสำคัญและร่วมมือแก้ไขอย่างเต็มที่ตามความสามารถ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศ มีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ปริมาณขยะในชุมชนก็ย่อมเพิ่มขึ้น จนกระทั่งการกำจัดขยะไม่สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนขยะ จึงมีขยะที่เหลือตกค้างรอการกำจัดอยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะมีพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อรองรับขยะแต่ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหาเป็นอย่างมากทั้งทางด้านทัศนวิสัยกลิ่น ความสะอาดและอาจก่อให้เกิด ปัญหาขยะล้น เมืองได้ “ขยะ” ผู้คนส่วนมากละเลยและไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่ขยะเหล่านั้น หากนำมาคัดแยกอย่างถูกวิธีแล้วจะสามารถสร้างประโยชน์ได้ และยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง
จากการดำเนินการงาน อาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงผลกระทบดังกล่าวข้างต้น ที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายขึ้นในอนาคต ประกอบกับหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ที่ต้องรณรงค์ส่งเสริม ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล จึงได้จัดทำโครงการบ้านสะอาด ปลอดขยะ ปลอดโรค ปีงบประมาณ 2568 เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในชุมชนเห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดจากการทิ้งขยะมูลฝอย รู้วิธีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง และเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนน่าอยู่ ไร้ขยะมูลฝอยเท่ากับไร้โรคภัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการจัดการขยะในครัวเรือน และในชุมชน ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการจัดการขยะในครัวเรือน และในชุมชน |
65.00 | 80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการจัดการขยะในครัวเรือน และในชุมชน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสในหมู่บ้าน | 1,500.00 | - | |||
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | อบรมให้ความรู้การจัดการขยะในชุมชน | 27,400.00 | - | |||
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | ป้ายโครงการ | 750.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
๒. วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด) กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๑ ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ชี้แจงการดำเนินการโครงการ กิจกรรมที่ ๒ อบรมให้ความรู้การจัดการขยะในชุมชน - ผู้เข้าอบรมสมัครสมาชิก สถล. - ผู้เข้าอบรมสมัครสมาชิก ธนาคารขยะ - ผู้เข้าอบรมนำขยะอันตราย กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสในหมู่บ้าน กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน
1.ชุมชนมีการบริหารจัดการขยะในชุมชนมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปริมาณขยะ ที่มาจากขยะในชุมชนได้ ร้อยละ 80 2.ประชาชนมีความรู้ในการจัดการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ ร้อยละ ๑๐๐
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2568 12:14 น.