โครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนรัก |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมาหัมมัด มะมิง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๕ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว จะเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป ซึ่งระยะแรกเกิด จะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยบุคคลภายนอก โดยเฉพาะพ่อแม่ ที่ต้องให้การช่วยเหลือด้านต่างๆเช่น อาหาร ให้ความรักความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่ให้ทารกมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกด้านต่างๆ 5 ด้าน ดังนี้ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและ สติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านช่วยเหลือตัวเองและสังคม และยังพบปัจจัยว่า สภาพครอบครัว สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นบุคคลและสิ่งของ ฯลฯ มีส่วนช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการให้แก่เด็กได้ นำประสบการณ์มาแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตหรือเชาว์ปัญญาได้ และนอกจากนี้ ภาวะโภชนาการของเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญควบคู่ไปกับพัฒนาการเด็ก การมีภาวะ โภชนาการที่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ การวางแผน พื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีกีดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก ส่งผลทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าตามมา ดังนั้น การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรก จึงมีความสำคัญและ จำเป็นมากที่ผู้ใหญ่จะให้แก่เด็ก แต่ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาก สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จากเดิมผู้เลี้ยงเป็น พ่อ แม่ เลี้ยงดูเด็กด้วยความรักและผูกพันอยู่กับบ้าน กลายเป็นการนำเด็กไปฝากเลี้ยง กับปู่ ย่า ตา ยาย และตามสถานเลี้ยงเด็กต่าง ๆ จึงทำให้พ่อ แม่ ขาดโอกาสในการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ในการกระตุ้นพัฒนาการลูกรัก โดยเฉพาะครอบครัวที่ไม่เห็นความสำคัญด้านนี้ อนึ่งกาลเวลาอายุของเด็ก ไม่สามารถจะหวนกลับมาอีกได้ โดยเฉพาะระยะเวลาแรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยทองของพัฒนาการเด็ก และจำเป็นต้องส่งเสริมเด็กให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนรัก จึงได้จัดทำโครงการเด็ก 0-5 ปีโภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖5 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 5 ด้าน เฝ้าระวังและตรวจประเมิน ภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0- 5 ปี ในพื้นที่ ติดตาม กระตุ้น และประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการซ้ำทุก 1 เดือน ในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการให้มีภาวะโภชนาการปกติและเด็กที่มีพัฒนาการช้าให้มีพัฒนาการสมวัย รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็ก อสม. ประชาชน มีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีได้อย่างถูกต้อง จะส่งผลให้เด็กมีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย รวมถึงการมีสุขภาพดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็ก ๐ – ๕ ปี ได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ การประเมินพัฒนาการ ที่ถูกต้องตามวัย ร้อยละของเด็ก ๐ – ๕ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการ และได้การประเมินพัฒนาการ ที่ถูกต้องตามช่วงวัย |
90.00 | 100.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ปกครองที่มีลูก ๐ – ๕ ปี เกิดความรู้ ความเข้าใจ การเลี้ยงลูกให้มีภาวะโภชนาการดี พัฒนาการสมวัย ร้อยละของผู้ปกครองที่มีลูก ๐ – ๕ ปี ได้รับความรู้ ความเข้าใจ การเลี้ยงลูกให้มีภาวะโภชนาการดี พัฒนาการสมวัย |
60.00 | 100.00 |
3 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามเด็ก 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับส่งเสริมเพื่อให้มีโภชนาการที่ดีขึ้น |
80.00 | 100.00 |
4 | เพื่อให้เด็ก ๐ – ๕ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ ตามช่วงอายุ ร้อยละของเด็ก ๐ – ๕ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุ |
90.00 | 100.00 |
5 | เพื่อให้ผู้ปกครองมีช่องทางในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ปรึกษา ด้านโภชนาการ และพัฒนาการของลูก 0-5 ปี ร้อยละของผู้ปกครองเข้าร่วมกลุ่มไลน์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ด้านโภชนาการ และพัฒนาการของลูกวัย 0-5 ปี |
80.00 | 100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมอสม. ชี้แจงโครงการรูปแบบการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์โครงการ | 0 | 4,550.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริมสุขภาพเด็กเพื่อโภชนาการ และพัฒนาการที่สมวัย ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน (โภชนาการ พัฒนาการ ฟัน วัคซีน และภาวะซีดในเด็ก) ให้ผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 0-5 ปี | 0 | 7,400.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ ให้ผู้ปกครองที่มีบุตรภาวะทุพโภชนาการ ในกลุ่มอายุ 3-5 ปี | 0 | 4,400.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดตั้งกลุ่มไลน์ ลูกรักสุขภาพดี เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ | 0 | 0.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามการเจริญเติบโตในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ และพัฒนาการสงสัยล่าช้าทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่ | 0 | 0.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดประกวดสุขภาพเด็กดี | 0 | 8,100.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ | 0 | 5,550.00 | - | ||
รวม | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 |
- ผู้ปกครองมีความตระหนัก มีความรู้และสามารถจัดเมนูอาหารได้ถูกต้อง
- ความครอบคลุมของการชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ปี ร้อยละ 80
- ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
- เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ และพัฒนาการช้า ได้รับการติดตาม กระตุ้นพัฒนาการ
- เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2568 00:00 น.