กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร
รหัสโครงการ 68-L5268-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 11,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประทีป จันทบูลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.347,100.476place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการได้รับอันตรายหรือผลกระทบจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสม ซึ่งโรคหรืออาการสำคัญของพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชจัดเป็นโรคจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุสำคัญมาจากการใช้สารเคมีในการเกษตรที่ส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรโดยตรงและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้มีสารพิษตกค้างในดิน น้ำ นำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาวก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมาได้ ซึ่งพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถออกฤทธิ์ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนรุนแรงถึงแก่ชีวิต เช่นผลต่อระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระคายเคืองดวงตาและผิวหนัง สำนักข่าวออนไลน์ Hfocus (2563) ได้รายงานว่าการรับบริการใน “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือ “กองทุนบัตรทอง” ที่โรงพยาบาลทั่วประเทศได้ส่งรายงานการรักษาเพื่อเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เจ็บป่วยและต้องเข้ารับการรักษาโดยมีสาเหตุจากพิษของ 3 สารเคมี ในภาคการเกษตร คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้มีส่วนหนึ่งต้องเสียชีวิตลง จากข้อมูลย้อนหลังในช่วงเกือบ 5 ปี นับจากปี 2559 -2563 (ข้อมูลถึง ก.ค. 63) เฉพาะการรายงานกรณีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจากการได้รับพิษสารเคมีปราบศัตรูพืช 3 รายการดังกล่าว ที่เบิกจ่ายจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยไม่รวมบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยสิทธิรักษาพยาบาลอื่น มีจำนวนถึง 15,145 คน หรือเฉลี่ย 3,029 คนต่อปี ในจำนวนนี้เสียชีวิตถึง 2,732 คน หรือเฉลี่ย 546.4 คนต่อปี ขณะที่การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลมีจำนวนรวมกว่า 77.78 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 15.56 ล้านบาทต่อปี จากข้อมูลการให้บริการในหน่วยบริการสาธารณสุข พบว่าสำหรับในปี 2563 (1 มกราคม – 29 สิงหาคม 2563) พบผู้ป่วยโรคพิษสารกำจัดศัตรูพืช จำนวน 4,933 ราย โดยพบผู้ป่วยจากกลุ่มสารกำจัดแมลง รวมถึงสารคลอร์ไพริฟอส จำนวน 2,951 ราย กลุ่มสารกำจัดวัชพืช รวมถึงสารพาราควอต และไกลโฟเซต มีจำนวน 889 ราย ซึ่งจากความสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ จำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันสนับสนุนให้ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในภาคการเกษตรเพื่อลดผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แนวทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคและศัตรูพืช เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองม่วงงามได้เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูและโรคพืชที่ใช้ในการเกษตรที่มีผลต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อที่จะลดการเจ็บป่วยที่เกิดจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสารเคมีแก่เกษตรกรในฐานะผู้ผลิตต้นน้ำและเพื่อส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช นำไปสู่การลด ละ และเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางด้านอาหารในระดับครัวเรือน และที่สำคัญเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชนเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรและการบริโภคอาหารที่มีสารพิษตกค้าง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 100 มีความเข้าใจและตระหนักถึงโทษจากสารเคมีทางการเกษตร

2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในการผลิตสารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำการเกษตรได้

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 มีความมั่นใจในการนำความรู้ในการผลิตสารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรและนำไปใช้ในการทำการเกษตรได้

3 3. เพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน

มีผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษสำหรับบริโภคในครัวเรือนและชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 11,500.00 0 0.00 11,500.00
1 - 31 พ.ค. 68 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 0 3,220.00 - -
1 - 30 มิ.ย. 68 ดำเนินงานโครงการ 40 8,280.00 - -
รวมทั้งสิ้น 40 11,500.00 0 0.00 11,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรและการบริโภคอาหารที่มีสารพิษตกค้าง
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในการผลิตสารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร และนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
  3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร คนในชุมชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 08:50 น.