โครงการเริ่มต้นใหม่ หัวใจไร้ยาเสพติด
ชื่อโครงการ | โครงการเริ่มต้นใหม่ หัวใจไร้ยาเสพติด |
รหัสโครงการ | 68-L8305-02-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ |
วันที่อนุมัติ | 26 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายการันต์ วาแมยีซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศชาติ โดยพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และมีความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ล้วนส่งผลให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี เมื่อประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน บุตรหลานขาดการศึกษา สภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี และปัญหาการว่างงาน ทำให้กลุ่มผู้ค้ายาเสพติดสามารถแทรกซึมเข้ามาได้ง่าย ส่งผลให้เยาวชนจำนวนมากถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งในฐานะผู้เสพและผู้ค้า เมื่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ถูกมอมเมาด้วยยาเสพติด ทำให้สังคมอ่อนแอ วุ่นวาย และไม่ปลอดภัย ส่งผลกระทบไปสู่ปัญหาสังคมอื่น ๆ เช่น การเลิกเรียนกลางคัน คุณภาพของเยาวชนในชุมชน ปัญหาเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ความรุนแรงในชุมชน การลักขโมย การทะเลาะวิวาทและการฆาตกรรม รวมถึงการลดศักยภาพของแรงงานในพื้นที่ ซึ่งบั่นทอนความมั่นคงและความสงบสุขของชุมชน ยาเสพติดจึงเป็นภัยร้ายที่สร้างความเสียหายในหลายมิติ ไม่เพียงแต่ทำลายสุขภาพของผู้เสพ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการศึกษา เศรษฐกิจ ความปลอดภัย และความมั่นคงของสังคมในระยะยาว
การเติบโตของยาเสพติดมีจุดเริ่มต้นที่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ค้ายา เนื่องจากเยาวชนเหล่านี้ขาดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ยิ่งขาดการศึกษายิ่งถูกชักจูงได้ง่าย อีกทั้งเพื่อนยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เยาวชนถูกชักจูงได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเพื่อนอาจมีอิทธิพลมากกว่าในบางกรณี เยาวชนมักเชื่อฟังหรือทำตามกลุ่มเพื่อนในชีวิตประจำวัน หากเพื่อนไม่ให้คำแนะนำที่ดี หรือยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่การเกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ ดังนั้น เพื่อนที่ดีจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษา เยาวชนต้องมีความรู้ทั้งด้านสามัญและศาสนา มีเพื่อนที่มีคุณภาพ และสามารถสนับสนุนกันในทางที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันในกลุ่มเยาวชน จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้จัดทำจึงมีความตั้งใจที่จะจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเยาวชน โดยเชื่อมั่นว่าการแก้ปัญหาต้องเริ่มต้นจากรากฐานสำคัญที่สุด คือ การมีแรงบันดาลใจ ความรู้ความเข้าใจ และเพื่อนที่ดี คอยช่วยให้คำปรึกษา และสนับสนุนแนวทางที่ถูกต้อง โดยเริ่มต้นจากการสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง ให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งโทษและหลักการทางศาสนา สร้างสายสัมพันธ์ที่ดีภายในกลุ่มเพื่อนและชุมชน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือภายในชุมชนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สร้างแรงบันดาลใจ การส่งเสริมทักษะอาชีพ การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มเพื่อน และการสร้าง “ชุมชนตื่นรู้” เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสอย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนในการพัฒนาตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด ผ่านความรู้ ความเข้าใจ และหลักศาสนา 2.เพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มเพื่อนและครอบครัว โดยการสนับสนุนให้เกิดการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาระหว่างกัน 3.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติด ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมและแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดและแนวทางการป้องกันตามหลักศาสนา ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่รายงานว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับกลุ่มเพื่อนและครอบครัว ผ่านแบบสอบถามหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวนกิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือที่จัดขึ้นร่วมกับภาครัฐและเอกชนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. Plan (วางแผน)
แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ :
• กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ เช่น ผู้ดูแลกิจกรรม ผู้ประสานงาน และผู้จัดทำรายงาน
• ระดมความคิดเพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินโครงการ
• กำหนดแผนการจัดกิจกรรม เช่น การบรรยาย การทำกิจกรรมฐาน การประเมินผล
วางแผนการดำเนินงาน :
• กำหนดหัวข้อกิจกรรม เช่น การป้องกันยาเสพติด การส่งเสริมคุณธรรม
• เตรียมทรัพยากร เช่น วิทยากร สื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์กิจกรรม
• กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ลดความเสี่ยงของการใช้ยาเสพติดในกลุ่มนักเรียน
2. Do (ปฏิบัติ)
ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ :
• กิจกรรมบรรยายพิเศษ หัวข้อ “สร้างสายใย ป้องกันภัยยาเสพติด" โดย กลุ่มญาลานันบารู
• การประกวดคลิปสั้น หัวข้อ “อย่าปล่อยให้ยาเสพติดขโมยอนาคตของคุณ”
• กิจกรรม Safe Zone : พื้นที่ปลอดภัย ไร้สารเสพติด
• กิจกรรม สร้างสรรค์ ห่างไกลยาเสพติด
ฐานที่ 1 : ไข่เหินเวหา – ป้องกันให้ดี ดั่งชีวิตที่มีค่า
ฐานที่ 2 : ปิดตาแยกสี – เปิดใจให้กว้าง ไม่ปิดกั้นตัวเอง
ฐานที่ 3 : แป้งใยสัมพันธ์ – เชื่อมโยงกันอย่างมีคุณค่า ไม่ใช่ด้วยสารเสพติด
ฐานที่ 4 : เหยียบลูกโป่ง – รู้จักป้องกันตนเองจากภัยยาเสพติด
ฐานที่ 5 : สุดใจจะไขว่คว้า – คว้าฝันให้ไกล ไม่ให้ยาเสพติดมาฉุดรั้ง
ติดตามและประสานงาน :
• แจ้งกำหนดการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
• ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านช่องทางออนไลน์และป้ายประชาสัมพันธ์
3. Check (ตรวจสอบ)
ประเมินผลการดำเนินโครงการ :
• ใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจและความรู้ที่ผู้เข้าร่วมได้รับจากกิจกรรม
• เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและความคิดเห็น
ติดตามผล :
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ
สรุปผลการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุงในอนาคต
4. Act (ปรับปรุง)
วิเคราะห์และปรับปรุงแผนงาน:
• นำข้อมูลจากการประเมินผลมาปรับแผนงาน เช่น เพิ่มหัวข้อกิจกรรมที่ได้รับความสนใจ
• เสนอแนวทางปรับปรุง เช่น การใช้เทคโนโลยีในการประชาสัมพันธ์หรือการจัดกิจกรรมนำเสนอสรุปผลโครงการ:
• จัดทำรายงานผลการดำเนินงานและส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.นักเรียนรู้เท่าทันโทษของยาเสพติด และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงได้ดีขึ้น 2.นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเอง มีความมั่นใจและเลือกทำสิ่งที่ดีในชีวิต 3.นักเรียนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น กล้าพูดคุยและเข้าใจกันมากขึ้น 4.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ห่างไกลจากยาเสพติด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 09:57 น.