กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “อสม. ห่วงใย ใส่ใจโภชนาการเด็กม่วงเตี้ย IQ ดีที่104 ” ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาแม่ลาน ประจำปี2568
รหัสโครงการ 68-L3020-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 4-6 ตำบลม่วงเตี้ย
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 13,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซากีนา ตาเยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี โดยเฉพาะภาวะ “เด็กผอม” (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) และ “เด็กเตี้ย” (ความสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกายและสมอง สาเหตุอาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็น หรือการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ติดตามการเจริญเติบโต และให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เพื่อปรับปรุงโภชนาการของเด็กให้ดีขึ้น
จากสถานการณ์ด้านภาวะการเจริญเติบโตของเด็กอายุ (0 - 5ปี ) ในพื้นที่ ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลแม่ลาน จากแบบรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี กลุ่มเป้าหมายจำนวน 272 คน ไตรมาสที่1(1ตุลาคม–31ธันวาคม 2567) กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังจำนวน 129 คน
เด็กในช่วงอายุ 0 - 5 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไปพร้อมๆ กันโภชนาการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาของเด็กการรับประทานอาหารของเด็กในแต่ละมื้อจึงมีความสำคัญในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันโรคดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีเพื่อให้มีสภาวะร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงโภชนาการจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อสุขภาพเด็กที่มีการส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆ
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน(ทั่วไป) จากสถานการณ์ข้อมูลผลการดำเนินงานด้านภาวะการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-5 ปี ในหมู่ที่ 4-6 ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กในพื้นที่ หมู่ 4-6 ตำบลม่วงเตี้ย
ข้อมูลภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กในพื้นที่ หมู่ 4-6 ตำบลม่วงเตี้ย
ข้อมูล ทั้งหมด (คน) หมู่ 4 ม่วงเตี้ย (คน) หมู่ 5 ม่วงเตี้ย (คน) หมู่ 6ม่วงเตี้ย (คน) หมู่ 6 แม่ลาน (คน เด็ก 0-5 ปีทั้งหมดในชุมชน 272 คน 95 คน 70คน 75คน 32คน เด็กที่เฝ้าระวัง(กลุ่มเสี่ยง) 129 คน 58 คน 34คน 21คน 17คน เด็กที่มีน้ำหนัก/ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม/ค่อนผอม) (เกณฑ์ร้อยละ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม. มีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย
  1. เพื่อให้ อสม. มีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย
70.00
2 เพื่อติดตามภาวะโภชนาการของเด็กในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

เพื่อติดตามภาวะโภชนาการของเด็กในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

100.00
3 เพื่อให้ครอบครัวและผู้ปกครองมีความรู้ในการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับวัยเด็ก

เพื่อให้ครอบครัวและผู้ปกครองมีความรู้ในการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับวัยเด็ก

50.00
4 เพื่อลดปัญหาภาวะขาดสารอาหาร (ผอม/เตี้ย )ในเด็กปฐมวัย

เพื่อลดปัญหาภาวะขาดสารอาหาร (ผอม/เตี้ย )ในเด็กปฐมวัย
-เด็กที่มีน้ำหนัก/ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม/ค่อนผอม) (เกณฑ์ร้อยละ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 13,240.00 0 0.00 13,240.00
1 - 31 มี.ค. 68 การสำรวจข้อมูลเด็ก 0-5 ปี กลุ่มที่มีปัญหาและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 50 1,750.00 - -
1 - 30 เม.ย. 68 จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการเลือกอาหารที่เหมาะสมและโภชนาการที่จำเป็นในแต่ละช่วงวัย 50 10,890.00 - -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว ในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ 50 600.00 - -
รวมทั้งสิ้น 150 13,240.00 0 0.00 13,240.00

กิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลเด็ก 0-5 ปี กลุ่มที่มีปัญหาและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก
1.1 การสำรวจข้อมูลเด็ก 0-5 ปี กลุ่มที่มีปัญหาและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก
- อสม. ตรวจวัด ชั่งน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก ทุกเดือน
- คัดกรองเด็กที่มีภาวะ ผอมและเตี้ย เพื่อให้การดูแลเป็นพิเศษ
- ติดตามพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง
1.2ประชุมชี้แจงและการอบรมและพัฒนาศักยภาพอบรม อสม. เกี่ยวกับโภชนาการเด็กปฐมวัย การเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ และการให้คำแนะนำด้านโภชนาการ
กิจกรรมที่2. จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการเลือกอาหารที่เหมาะสมและโภชนาการที่จำเป็นในแต่ละช่วงวัย
  2.1จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการเด็ก การประเมินภาวะโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และการให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครอง
  2.2 ฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การประเมินพัฒนาการเด็ก และการให้คำแนะนำด้านโภชนาการ
  2.3จัดหาคู่มือและสื่อความรู้ที่เหมาะสมสำหรับ อสม.
  2.4.การให้คำปรึกษาและส่งเสริมโภชนาการ:
- อสม. ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การเตรียมอาหารที่เหมาะสมตามวัย และการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ดี
- ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เป็นไปตามวัย
- ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองที่มีเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการหรือพัฒนาการล่าช้า
- ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับนมแม่ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  2.5.การประสานงานและส่งต่อ:
- อสม. ประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลแม่ลาน เพื่อส่งต่อเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการหรือพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม
- ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการของเด็กในภาพรวม
กิจกรรมที่3. ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว ในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์
4.1รณรงค์ลดการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์
• ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องผลเสียของ ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม และอาหารแปรรูป
• สอนทำ อาหารว่างเพื่อสุขภาพ สำหรับเด็ก เช่น กล้วยอบชีส น้ำเต้าหู้ผสมธัญพืช
4.2 อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมส่งเสริมโภชนาการ “อสม. ปลูก ปรุง แบ่งปัน”
- เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว (เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง มะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว)
กิจกรรมที่4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข โรงเรียน และชุมชน เพื่อดูแลโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง
4.1ติดตามและประเมินผลโครงการ
- อสม. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และประเมินภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 0-5 ปี
- บันทึกข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กในแบบฟอร์มที่กำหนด
- รายงานผลการประเมินให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ - ติดตาม-เยี่ยมบ้าน ชั่งน้ำหนัก -วัดส่วนสูง ภาวะโภชนาการเด็กหลังจากเข้าร่วมโครงการทุก 3 เดือน
- เปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูงก่อนและหลังโครงการ
- สรุปผลและรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน แบ่งเป็น:
  1.เด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 30 คน ที่มีเด็กภาวะผอมหรือเตี้ยและกลุ่มเสี่ยง
  2.ผู้ปกครอง จำนวน 20 คน ที่ดูแลเด็กภาวะผอมหรือเตี้ยและกลุ่มเสี่ยง
  3.อสม.ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 4 - 6 ม่วงเตี้ย เป็นผู้ติดตาม จำนวน 10 คน ที่ร่วมดำเนินโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. มีศักยภาพในการเฝ้าระวังและให้คำแนะนำด้านโภชนาการเด็กปฐมวัย
  2. เด็กในชุมชนมีภาวะโภชนาการที่ดี ลดปัญหาขาดสารอาหาร
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ในการเลือกอาหารและการดูแลโภชนาการของบุตร
  4. เกิดความร่วมมือในชุมชนในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กอย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 10:28 น.