โครงการหนูจ๋า รู้ไว้ จะปลอดภัย และหนูน้อยฟันสวย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะเร็ด
ชื่อโครงการ | โครงการหนูจ๋า รู้ไว้ จะปลอดภัย และหนูน้อยฟันสวย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะเร็ด |
รหัสโครงการ | 68-L3367-3-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะเร็ด |
วันที่อนุมัติ | 22 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอุไรวรรณ ส่งแสง |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะเร็ด |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนผู้ปกครองได้รับความรู้ความเข้าใจ 1. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2. การป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย 3. การป้องกันระมัดระวังเด็กไฟไหม้ ไฟฟ้าช็อต 4. วิธีการเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถยนต์ และ 5. การขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย มีวินัยการจราจร | 28.00 | ||
2 | จำนวนเด็กเล็ก อายุ (2-5 ปี) ได้รับการตรวจ คัดกรองฟันผุ อุด ถอนและเคลือบฟลูออไรด์ ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะเร็ด จำนวน 28 คน | 28.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งซักซ้อมแนวทางการป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย โดยขอให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก จัดการสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ปลอดภัย รวมถึงปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับการลืมเด็กนักเรียนไว้ในรถรับ-ส่ง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนตัวหรือรถรับ-ส่งของโรงเรียน เกิดเหตุการณ์บ่อยครั้งมากขึ้น จากการลืมเด็กในรถ จนทำให้เด็กขาดอากาศหายใจ อีกทั้งยังมีปัญหาไฟไหม้ ไฟช็อต ที่เกิดขึ้นกับเด็ก สาเหตุและปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การเสียชีวิต จึงเน้นให้มี 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2. การป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ตะโกน โยน ยื่น 3. การป้องกันระมัดระวังเด็กไฟไหม้ ไฟฟ้าช็อต 4. วิธีการเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถยนต์ และ 5. การขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย มีวินัยการจราจร รวมทั้งการส่งเสริมให้เด็กรู้จักการดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างถูกต้อง ตลอดจนการดูแลสุขภาพฟันในช่องปากที่ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันฟันผุและยับยั้งการเกิดฟันผุในระยะแรกเริ่มของเด็ก และเด็กได้รับการตรวจ คัดกรองฟันผุ อุด ถอนและเคลือบฟลูออไรด์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะเร็ด จึงได้จัดทำ โครงการหนูจ๋า รู้ไว้ จะปลอดภัย และหนูน้อยฟันสวย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะเร็ด เพื่อดำเนินโครงการต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้เด็กอายุ 2 - 5 ปี ครู ผู้ปกครอง เรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย การป้องกันระมัดระวังเด็กไฟไหม้ ไฟฟ้าช็อต วิธีการเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถยนต์ การขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย มีวินัยการจราจร และมีแนวคิดและทัศนคติและวิสัยทัศน์ที่ดีในการสวมหมวกนิรภัย
2.เพื่อให้เด็กอายุ 2 - 5 ปี ได้รับการตรวจ ประเมิน รักษาสุขภาพช่องปากและฟัน และผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันเด็ก
|
28.00 | 28.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในเด็ก และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันเด็ก | 0 | 12,530.00 | - | ||
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 2. ตรวจ คัดกรอง สุขภาพในช่องปากของเด็กเล็ก อายุ 2-5 ปี และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก | 0 | 7,470.00 | - | ||
รวม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 |
1.ครู ผู้ปกครอง ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย การป้องกันระมัดระวังเด็กไฟไหม้ ไฟฟ้าช็อต วิธีการเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถยนต์ การขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย มีวินัยการจราจร
2.เด็กรู้วิธีการเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถยนต์
3.ผู้เข้าร่วมโครงการมีแนวคิด ทัศนคติ และวิสัยทัศน์ที่ดีในการสวมหมวกนิรภัย
4.เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน และได้รับการรักษากรณีช่องปากและฟันมีปัญหา ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันเด็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 10:44 น.