กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามยอด ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L2975
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามยอด
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฉลอง สุวรรณลิวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.732,101.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และพบมากเป็นลำดับที่ ๒ ในหญิง วัยเจริญพันธ์ ซึ่งการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีกลวิธีในการแก้ปัญหามะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์๓๐-๖๐ ปี ซึ่งเป็นนโยบายหลักในการลดอัตราป่วยตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก (นางวารุณี วังชัย และคนอื่น ๆ ,๒๕๕๘) จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก พบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear สามารถลดอุบัติการณ์ และ อัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ๘๐ ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูง โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ ๑๑ ล้านคนและตายจากโรคมะเร็ง ๗ ล้านคน โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกการป้องที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและการป้องกันตนเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราป่วยและอัตราตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกจากรายงานขององค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer : IARC) / องค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามรายใหม่ปีละ ๔๙๓๒๔๓ คน และตายปีละ๒๗๓,๕๐๕ คน และใน ๕ ปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่๑,๔๐๙,๒๘๕ คน ซึ่งจะต้องได้รับการรักษา ในประเทศไทย โรคมะเร็งปามดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในหญิงวัยเจริญพันธ์มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ๖,๓๐๐ ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ ๔๕-๕๐ ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด๕ ปี ประมาณร้อยละ๖๐ จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมากคาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า๖๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด๕ ปี จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก การดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในระยะเวลา๓ ปี ที่ผ่านมา ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด๙๒๓ คน โดยเกณฑ์ตัวชีวัดต้องผ่านร้อยละ๒๐ ต่อปี โดยหญิงวัยเจริญพันธ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๖๖ จำนวน ๒๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓.๐๔ ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๒๙๑ ราย ติดเป็นร้อยละ ๒.๒๓ และปี ๒๕๖๓ จำนวน๑๘๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๖๑ ซึ่งเห็นได้ว่าอัตราตัวชี้วัดการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนหน้านี้ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงเห็นถึงความสำคัญของการ ป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหญิงวัยเจริญพันธ์กลุ่มอายุ ๓๐ -๖๐ ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข 6 หมู่บ้าน จำนวน 75 คน -สำรวจ ทำทะเบียนหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30 - 60 ปี - ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60 ปี 6 หมู่บ้าน จำนวน 50 คน -จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อที่ใช้ในการทำกิจกรรม -นัดกลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรมอบรม โดยมีเนื้อหาดังนี้ -ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก -แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง -ทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมฯ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข 10 คนต่อหมู่บ้าน 6 หมู่บ้านๆละ 1 วัน -ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย 6 หมู่บ้าน 6 วัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและตระหนักถึงการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2.หญิงวัยเจรญพันธ์อายุ 30-60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear 3.หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 11:24 น.