กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม ป้องกันและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กอายุ 0 - 5 ปี ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L-4137-68-01-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 27,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสารีฟะห์ กาจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2568 30 ก.ย. 2568 27,620.00
รวมงบประมาณ 27,620.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพเด็กที่ดี หมายถึง การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ปราศจากโรคภัยคุกคาม จึงต้องวางรากฐานให้มีสุขภาพที่ดีที่ส่งผลต่อสติปัญญาในการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อพัฒนาการในการเจริญเติบโตของเด็กเป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ซึ่งประกอบไปด้วยการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ เริ่มตั้งแต่การประเมินพัฒนาการ การตรวจการเจริญเติบโตด้วยการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยมีข้อมูลและสถานการณ์    การดำเนินงาน ด้านสุขภาพเด็กโดยพบว่า เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ผลการดำเนินงานภาพรวมประเทศ  ด้านพัฒนาการเด็กอายุ 9 , 18 , 30 , 42 และ 60 เดือน มีการคัดกรองร้อยละ 92.5 (จากเป้าหมายร้อยละ 90) พบสงสัยล่าช้าร้อยละ 26.4 (จากเป้าหมายร้อยละ 20) ติดตามได้ร้อยละ 95 (จากเป้าหมายร้อยละ90) และมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 90.8 (จากเป้าหมายร้อยละ85) เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ผลการดำเนินงานภาพประเทศร้อยละ 65 (จากเป้าหมาย > ร้อยละ 60) ภาวะโภชนาการความครอบคลุมการชั่งน้ำหนัก วัดความยาว/ส่วนสูง ของเด็กอายุ 0 – 5 ปี ภาพรวมประเทศ พบว่าการดำเนินงานยังต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (ร้อยละ 90) คือ ร้อยละ 66.8 และการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การตรวจสุขภาพช่องปาก ภาพรวมประเทศ ได้ร้อยละ 45.2 การดำเนินงานยังต่ำกว่าค่าเป้าหมาย ร้อยละปราศจากฟันผุ มีแนวโน้มลดลง พบร้อยละ 74.6      การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในเด็ก จึงต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรหลายฝ่าย รวมทั้งครอบครัวต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กดังนั้นคลินิกสุขภาพเด็กดี (WBC) ของทุกสถานบริการสาธารณสุขรวมถึงสถานศึกษาจึงเป็นสถานที่ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขมีโอกาสพบเด็กสม่ำเสมอทำให้เหมาะสมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในเด็กอายุ 0-5 ปี อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องต่อไป จากข้อมูลสำรวจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา ตำบลพร่อน อำเภอเมือง ข้อมูลการประเมินพัฒนาการเด็ก ปีงบประมาณ 2567 พบว่า เด็กอายุ 0 - 5 ปี มีจำนวนทั้งหมด 294 คน ได้รับการ  คัดกรองจำนวน 293 คน คิดเป็นร้อยละ 99.66 มีพัฒนาการสมวัยในครั้งแรกจำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 67.35 สงสัยพัฒนาการล่าช้าคิดจำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 32.42 ภาวะโภชนาการความครอบคลุม    การชั่งน้ำหนัก วัดความยาว/ส่วนสูง ปี 2567 มีจำนวนทั้งหมด 365 คน ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง จำนวน 357 คน คิดเป็นร้อยละ 97.81 มีเด็กที่มีรูปร่างสูงดีสมวัย จำนวน 239 คน คิดเป็นร้อยละ 66.95      มีเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 9.95 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทั้ง ๔ กลุ่มอายุ คือเด็กที่มีอายุครบ ๑ , ๒ , ๓ , และ 5 ปี ในปีงบประมาณ ๒๕๖7 พบว่า ผลงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีนคิดเป็น ร้อยละ 79.17 , 80.00 , 75.76 , 74.58 ตามลำดับ และข้อมูลทันตสุขภาพเด็ก 0 – 5 ปี ปี พ.ศ. 256๗ จำนวนเด็กทั้งหมด ๙๘ คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 7๖ คน มีฟันผุจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๕๕ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา  ได้เล็งเห็นถึงการส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังสุขภาพเด็กในช่วงวัย 0-5 ปี ดังนั้นการส่งเสริมการป้องกันและดูแลสุขภาพตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดปัญหาสุขภาพในระยะยาวจึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังสุขภาพเด็ก 0-5 ปีขึ้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการดูแลสุขภาพเด็กอย่างครอบคลุมในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

ร้อยละ 95 เด็กอายุ 0–5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

2 .เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้แนวทางในการดูแลเด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

ร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีความรู้แนวทางในการดูแลเด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ก่อนและหลังเพิ่มขึ้น

4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี(1 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 27,620.00              
รวม 27,620.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 27,620.00 1 27,620.00 0.00
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี 0 27,620.00 27,620.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 27,620.00 1 27,620.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย   2. ผู้ปกครองมีความรู้แนวทางในการดูแลเด็ก 0 – 6 ปี ที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
      3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี   4. ผู้ปกครองมีความรู้ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 11:44 น.