โครงการตรวจเร็ว รักษาไว ห่างไกล โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประชาชนหมู่ 4,5,6 ตำบลม่วงเตี้ย ปีงบ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจเร็ว รักษาไว ห่างไกล โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประชาชนหมู่ 4,5,6 ตำบลม่วงเตี้ย ปีงบ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3020-02-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.หมู่ที่ 4- 6 ตำบลม่วงเตี้ย |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | มัณฑนา อาแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.677,101.266place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย มักพบโรคในวัย 50 ปี ขึ้นไป โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อผนังลำไส้ใหญ่เริ่มสร้างติ่งเนื้องอกที่เรียกว่า อะอีโนมาตัส (มะเร็งขั้นเริ่ม) จากการศึกษาพบว่าปัจจัยในการดำรงชีวิตอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจัยดังกล่าว คือ รับประทานอาหารมันและเนื้อแดงมาก แต่รับประทานผักผลไม้น้อย รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงออกกำลังกายน้อย และโรคอ้วน การสูบบุหรี่และดื่มสุราจัดอาจมีผลต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้สะสมมาตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยทำงาน จึงมักพบโรคในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง และสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ดังนั้นการให้ความรู้ การลดปัจจัยเสี่ยงสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงการคัดกรองโดยวิธีการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Imunochemical test (FIT)ในประชาชน ซึ่งถ้าพบสามารถทำการรักษาให้หาย หรือลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลามและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลม่ลาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรก ในประชาชนอายุ 50 – 70 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขึ้นมา
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน(ทั่วไป) จากสถานการณ์ข้อมูลผลการดำเนินงานการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประชาชนอายุ 50 – 70 ปี ในหมู่ที่ 4-6 ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งลำไส้ ในพื้นที่ หมู่ 4-6 ตำบลม่วงเตี้ย
ข้อมูล ทั้งหมด (คน) หมู่ 4 ม่วงเตี้ย (คน) หมู่ 5 ม่วงเตี้ย (คน) หมู่ 6 ม่วงเตี้ย (คน) หมู่ 6 แม่ลาน (คน)
1.กลุ่มเป้าหมายอายุ 50 – 70 ปี 500 153 109 92 146
2.ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งสำไส้ 58 8 14 12 24
-ผลปกติ 48 6 13 9 20
-ผิดปกติ 10 2 1 3 4
3.ได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้อง 5 2 - 3 -
-ผลปกติ 5 2 - 3 -
-ผลผิดปกติ - - - - -
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้ในการลดปัจจัยเสียงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้แก่ประชาชนในชุมชน ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และมีความตระหนักในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ |
100.00 | |
2 | เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้แก่ประชาชน ประชาชนกลุ่มเป้ามหายได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ |
10.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดกิจกรรมให้ความรู้ เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในชุมชน | 130 | 8,650.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยวิธี Fecal Imunochemical test (FIT) | 100 | 4,200.00 | - | ||
1 - 30 ก.ย. 68 | สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 230 | 12,850.00 | 0 | 0.00 |
1.ขออนุมัติการดำเนินงานตามโครงการฯและจัดซื้อจัดจ้าง
2.ติดต่อประสานงานและจัดทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
4.ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการฯ ดังนี้
4.1.กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำใส้ ในการลดปัจจัยเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุ อาการและการป้องกันให้แก่ประชาชนในชุมชน
4.2 กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยวิธีการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Imunochemical test (FIT)ให้ประชาชนอายุ 50 – 70 ปีในชุมชน และแจ้งผลการคัดกรองให้ประชาชนทราบ
4.3 กิจกรรมที่3 สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
หมายเหตุ ผลการคัดกรองผิดปกติส่งต่อโรงพยาบาลปัตตานีเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
1.ประชาชนได้รับความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุและอาการของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
2.ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองทำให้ลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลามและลดอัตราการตายในเขต
ชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 11:46 น.