โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ( Zero Waste School ) โดยการ มีส่วนร่วมกับชุมชน “ การสร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค ” รุ่นที่3
ชื่อโครงการ | โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ( Zero Waste School ) โดยการ มีส่วนร่วมกับชุมชน “ การสร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค ” รุ่นที่3 |
รหัสโครงการ | 68-L3068-10(2) |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านปากบางตาวา |
วันที่อนุมัติ | 25 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 5,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายโอภาส ภูดินดาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 230 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนและโรงเรียนบ้านบ้านปากบางตาวา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและโรงเรียน อาทิเช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุงฯลฯ เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญ ทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดู สกปรกน่ารังเกียจ ขยะทำให้น้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมากเกิดกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียนและประชาชน องค์การอนามัยโลก(World Health Organizationะ WHO) ได้ให้ความหมายแก่ขยะมูลฝอยไว้ว่าคือสิ่งของจากบ้านเรือนที่ประชาชนไม่ต้องการแล้วมีผู้นำไปใช้ประโยชน์จนสุดท้ายไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้วและถูกทิ้ง ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำจัดจัดเก็บและขนส่งนั่นหมายความว่าสิ่งของที่เราทิ้งจากที่บ้านถ้ายังมีคนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้สิ่งนั้นก็จะยังไม่ใช่ขยะจากความหมายดังกล่าวได้รับการตอกย้ำด้วยแนวคิดที่เห็นคุณค่าจากขยะดังเช่น "พอเพียง 5 enough" "ขยะคือทรัพยากร" การใช้ทรัพยากรอย่างพอดีเห็นคุณค่าบวกกับการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับวัสดุเหลือใช้ที่มีรอบบ้านเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะ นอกจากนี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ ประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก และรณรงค์การคัดแยกขยะประเภทขยะมูลฝอยที่ต้นทางให้แก่นักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัด โดยโรงเรียนบ้านปากบางตาวาตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจํานวนนักเรียน 230 คน ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา 30 คน รวมทั้งสิ้น 260 คน โดยเด็กนักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ม.1 ตำบลบางตาวาซึ่งเป็นเป็นชุมชนที่จำนวนขยะตกค้างเป็นจำนวนมากเนื่องจากเด็ก เยาวชน และประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจใน การคัดแยกขยะ ขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะลงถัง ทำให้เกิดขยะตกค้างและสกปรกส่งกลินเหม็นและเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคดังนั้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของ เรื่องดังกล่าวและส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ที่ดำเนินกิจกรรมลดคัดแยก และนำกลับขยะมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกฝังจิตสำนึกการลดคัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายในสถานศึกษา เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริงตลอดจนขยายผลต่อจนกลายเป็นชุมชนปลอดขยะต่อไป ดังนั้นโรงเรียนบ้านปากบางตาวาจึงดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน "การสร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค" ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ นักเรียนครู บุคลากรและชุมชนบางตาวามีความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการลดปริมาณขยะ การแยกขยะ และการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนบ้านปากบางตาวา ร้อยละ 80 ได้รับความรู้ความเข้าใจ สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ และปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง |
80.00 | |
2 | เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงชุมชนมีความรักและช่วยกันดูแล รักษาความสะอาด ที่อยู่อาศัย ให้สะอาดน่าอยู่ ตามกิจกรรม บ้านปลอดขยะ ผู้ปกครองและชุมชน สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 6 | 5,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 30 มิ.ย. 68 | ส่งเสริมความรู้การคัดแยก ประเภทขยะ | 0 | 2,500.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | บ้านปลอดขยะ | 6 | 2,500.00 | - |
- นักเรียนในโรงเรียน ครูบุคลากร ผู้ปกครองรวมถึงชาวบ้านในชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวส่งเสริมความรู้การคัดแยก ประเภทขยะ80 %
- นักเรียนในโรงเรียนบ้านปากบางตาวารู้จักรักษ์ดูแลและช่วยกันทำความสะอาดโรงเรียนบ้านปากบางตาวาให้ปราศจากขยะ มีสิ่งแวดล้อมที่สวยงามและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
- ชุมชนมีบ้านตัวอย่าง ปลอดขยะ”
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 13:45 น.