โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ม.1
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ม.1 |
รหัสโครงการ | 68-L8421-02-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมสร้างเสริมสุขภาพบ้านเปียะ |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางซารีพะห์ มามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ม.1 ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 95 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร สภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทำให้มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต ทำให้ปัญหาสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมมีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อมากได้มีการพัฒนาการป้องกันที่ดีขึ้น การป่วยด้วยโรคติดต่อก็ลดลงเปลี่ยนมาเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน เช่นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือดเป็นต้นในภาวะปัจจุบันมีการพัฒนาด้านต่างๆ การดำรงชีวิตประจำวัน มีการเร่งรีบ มีการแข่งขันในการทำงาน ส่งผลถึงการบริโภคก็เกิดความเปลี่ยนแปลง ไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการร่างกายจึงขาดความสมดุลของสารอาหาร เช่น เกิดภาวะอ้วน โอกาสเกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดเกิดตีบแคบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ยิ่งขาดการออกกำลังกาย อายุมากขึ้นหรือมีความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน หากเปรียบเทียบระหว่างครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานกับครอบครัวที่สมาชิกไม่เป็นโรคย่อมมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดสมาชิกในครอบครัวที่ไม่เป็นโรคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง สามารถทำงานทำรายได้มาสู่ครอบครัว ทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ส่งผลให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ตรงกันข้ามกับครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ทำให้ครอบครัวสูญเสียแรงงาน สูญเสียรายได้ และยังเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพร่างกาย ทำให้เศรษฐกิจของครอบครัวมีรายได้น้อย สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 5 หมู่บ้าน มีประชากรกลุ่ม อายุ ๓5 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,๐๕๑ ราย พบว่าเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 23 ราย เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 100 ราย ส่วนสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ ม.1 ต.ดาโต๊ะ มีประชากรกลุ่ม อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป จำนวน ๓๑๙ ราย พบว่าเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 5 ราย เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 18 ราย เป็นทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 13 ราย ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมีประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังไม่ทราบว่าตนเองหรือบุคคลในครอบครัวมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทำให้ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ดังนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญว่าสื่อรณรงค์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถสร้างกระแสในการดูแลสุขภาพเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้ประชาชนดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับ การคัดกรองความดัน และเบาหวาน ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองความดัน และเบาหวาน |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดประชุมชี้แจง | 0 | 300.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ออกหน่วยคัดกรอง | 0 | 9,850.00 | - | ||
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามหลังจากคัดกรอง 1 เดือน | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 10,150.00 | 0 | 0.00 |
กลุ่มเป้าหมายอายุ ๓5 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดัน และเบาหวาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 13:50 น.