โครงการใช้ชีวิตอย่างไรไม่เสี่ยงเอดส์
ชื่อโครงการ | โครงการใช้ชีวิตอย่างไรไม่เสี่ยงเอดส์ |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มประชาชนจิตอาสาบ้านควนปาบ (ม.8 ต.แม่ขรี) |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวกัลยา บัวนาค |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ปัจจุบัน โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังเป็นปัญหาสําคัญระดับชาติที่หน่วยงานทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง จากข้อมูลสํานักระบาดวิทยา พบว่า แม่บ้านมีแนวโน้มอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ โรคหนองใน ทําให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ เหมาะสมและไม่ปลอดภัย โดยพบว่าอัตราการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ยังต่ําอยู่เพียงร้อยละ 46.8 เท่านั้น ผลกระทบประการสําคัญที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของคนวัยทํางานส่วนหนึ่งเกิดจากความ เข้าใจผิด เกี่ยวกับการร่วมเพศ คิดว่าการใช้ถุงยางอนามัยจะขัดขวางความรู้สึกทางเพศ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ ปลอดภัย เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และยังพบว่ามีแม่บ้านตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นด้วยแม่บ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจในโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงทําให้แม่บ้านมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ในตําบลแม่ขรีพบปัญหา เนื่องจากพ่อบ้านส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมเที่ยวนอกบ้าน กลุ่มประชาชนจิตอาสาบ้านควนปาบ จึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทําโครงการนี้ขึ้นมา โดย มุ่งหวังให้แม่บ้านได้รับความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อลดอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแม่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
|
||
2 | เพื่อแม่บ้านมีทักษะการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
|
||
3 | เพื่อแม่บ้านมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ลดการตีตรา ลดการรังเกียจ และอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างมีความสุข
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานของคณะทำงานในกลุ่ม 2.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี 3.ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม 4.ติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2.กลุ่มเป้าหมายมีทักษะความรู้ ความเข้าใจในการใช้ถุงยางอนามัยและการป้องกันโรคติดเชื้อเอชไอวี 3.กลุ่มเป้าหมายมีทัศคติที่ดีและไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 00:49 น.