กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ร้านชํามาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3329-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,206.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสินีนาถ หลำสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชําในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชําภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหารเครื่องสําอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจําหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียรอย เครื่องสําอางมีสารอันตราย อาหารมีสาร ปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคล ทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง       เทศบาลควนเสาธง มีสถานประกอบการต่าง ๆ จํานวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายของชําในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่าย และรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชําในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ เพื่อนํามาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสําอาง ยาหรือของใช้ต่าง ๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตราย จากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย       ในการนี้ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาร้านขายของชําในหมู่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้จึงได้จัดทําโครงการอบรมให้ความรู้ร้านชํามาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัยปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสํารวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชําได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภค มีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตราย ต่อสุขภาพของคนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชํา และตัวแทนภาคประชาชน มีความรู้เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสําอาง

 

2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชํา และตัวแทนภาคประชาชน มีทักษะในการใช้ชุดทอสอบทั้ง 3 ตัวอย่าง ได้ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดทําแผนโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลควนเสาธง ปีงบประมาณ 2568
  2. ประชุมชี้แจงรายละเอียดแก่คณะทํางาน
  3. ประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการร้านชํา ตัวแทนภาคประชาชน มีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสําอาง ร้อยละ 80 2.ผู้ประกอบการร้านชํา และตัวแทนภาคประชาชน มีความเข้าใจถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค จากการใช้ยา และทราบบทลงโทษทางกฎหมาย เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่นํายาชุด ยาปฏิชีวนะ ยาลูกกลอน ยาอันตราย มาจําหน่ายในร้านชําในชุมชน ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 06:41 น.