โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนําครูปฐมวัยและอสม.ด้านการสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก ในเขตเทศบาลตําบลควนเสาธง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนําครูปฐมวัยและอสม.ด้านการสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก ในเขตเทศบาลตําบลควนเสาธง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3329-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลตะโหมด |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 18,954.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุมิตรา หนูสุภาษิต |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปฐมวัยถือเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เป็นช่วงวัยที่พัฒนาการในด้านต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของสมองและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ตามลักษณะพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งปัจจุบันพบว่าปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มพัฒนาการ ล่าช้าในทุก ๆ ด้าน โดยมีสาเหตุที่สําคัญจากการขาดการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม จากข้อมูลการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในเขตเทศบาลตําบลควนเสาธงปีงบประมาณ2567 พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 3.8 สาเหตุหลักมาจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การอบรมเลี้ยงดู ของครอบครัวเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างการเรียนรู้และเป็น แบบอย่างให้กับเด็ก เนื่องจากช่วงปฐมวัยถือเป็นช่วงโอกาสของการเรียนรู้จากการเลียนแบบของบุคคลรอบข้าง ดังนั้น ในการส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กปฐมวัย จึงมีความสําคัญอย่างยิ่งเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดี เฉลียวฉลาด และจาก ข้อมูลสถิติการศึกษาเด็กปฐมวัยที่อยู่ในช่วงอายุ 2 - 5 ปี ส่วนใหญ่จะเข้าสู่สถานพัฒนาการเด็กปฐมวัย คุณครูใน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจึงมีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นหมอคนที่ 1 และทําหน้าที่ในการเฝ้าระวังระวังสุขภาพของประชาชนในชุมชน เพื่อให้เด็กปฐมวัยมี พัฒนาการที่สมวัยนั้น จึงได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของการพัฒนาศักยภาพคุณครูปฐมวัยและอาสาสมัครสาธารณสุข ประจําหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข คือ นโยบายสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน จากความสําคัญของปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลตะโหมด ตําบลแม่ขรี อําเภอตะโหมด ซึ่งมีภารกิจโดยตรงใน การดูแลส่งเสริมสุขภาพและตระหนักถึงความสําคัญของพัฒนาการเด็ก จึงได้จัดทําโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนํา ครูปฐมวัยและอสม.ด้านการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กในเขตเทศบาลตําบลควนเสาธง ปี2568 เพื่อการพัฒนาศักยภาพ แกนนําครูปฐมวัยและอสม. ในการเฝ้าระวังเด็กปฐมวัยในพื้นที่ ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัยด้วยการส่งเสริม พัฒนาการและการเรียนรู้ผ่านการเล่น การเล่นจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ ความคิด การแก้ไขปัญหาของเด็ก และช่วย ในการพัฒนาจิตใจของเด็กให้เด็กรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งหากแกนนําครูปฐมวัยและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยตามช่วงวัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ครูปฐมวัยและอสม. มีความรู้ ความเข้าใจด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงวัยได้อย่างถูกต้อง
|
||
2 | เพื่อให้ครูปฐมวัยและอสม. มีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ขั้นเตรียมการ
1.1 จัดทําโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการ
พัฒนาศักยภาพแกนนําแกนนําครูปฐมวัยและอสม. ด้านการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กในเขตเทศบาลตําบลควนเสาธง
ปี2568
1.2 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายครูปฐมวัยและอสม. ในเขตเทศบาลตําบลควนเสาธง เข้าร่วมโครงการ
- ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ครูปฐมวัยและอสม. ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงวัย 2.2 จัดกิจกรรมสาธิตการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงวัย ตามหลักคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย 2.3 จัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติ เรื่องการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงวัย 2.4 จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กตามหลักคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงวัย 2.5 สรุปผลการดําเนินงานตามโครงการ ปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะทางแก้ไขปัญหา
1.ครูปฐมวัยและอสม. มีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงวัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 90 2.ครูปฐมวัยและอสม. มีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี ร้อยละ 90
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 06:52 น.