โครงการหยุดก่อน Stroke ป้องกันได้
ชื่อโครงการ | โครงการหยุดก่อน Stroke ป้องกันได้ |
รหัสโครงการ | 68-L3020-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.ม.4และ ม.5 ต.ม่วงเตี้ย |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 16,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวยามิล๊ะ แว้ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.677,101.266place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการในประชากรทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย และอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โครงการนี้มุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองผ่านการให้ความรู้ การปรับพฤติกรรมและการตรวจสุขภาพ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์และการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญในการลดความรุนแรงของโรคพื้นที่จังหวัดปัตตานีมีลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจส่งผลต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการทางการแพทย์และการเข้าถึงการรักษาการสร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนเป็นสิงสำคัญ โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ตามปกติเมื่อสมองขาดเลือด เซลล์สมองจะเริ่มตายภายในไม่กี่นาที และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง:
• หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke): เกิดจากลิ่มเลือดหรือไขมันอุดตันในหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงสมองได้
• หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke): เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดไหลเข้าไปในเนื้อสมอง
จากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย 1 ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 2 ของการเสียชีวิต และอันดับ 3 ของความพิการ
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง:
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อดูแลสุขภาพร่างกาย เช่น ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ ควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด เลิกสูบบุหรี่ ลดอาหารรสเค็มและไขมันสูง รับประทานผักผลไม้ ออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนัก
เรียนรู้สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองและปฏิบัติตามหลักการ B.E.F.A.S.T. หรือ F.A.S.T. สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง (B.E.F.A.S.T.):
• B (Balance): เสียการทรงตัว มีปัญหาในการเดิน
• E (Eyes): มองเห็นผิดปกติ ตามัว หรือเห็นภาพซ้อน
• F (Face): ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว มุมปากตก
• A (Arms): แขนขาอ่อนแรง ยกไม่ขึ้น
• S (Speech): พูดลำบาก พูดไม่ออก หรือพูดไม่ชัด
• T (Time): รีบไปโรงพยาบาลทันที หากมีอาการดังกล่าว
จากการสำรวจข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข โดยคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) ที่ปัจจุบันสูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ จำนวนยอดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ทั้งอำเภอแม่ลาน มีจำนวน 31 คน ปีงบประมาณ 2566 เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 3 ราย ปีงบประมาณ 2567 เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 3 ราย ปีงบประมาณ 2568 เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 1 ราย ตามลำดับและจำนวนยอดผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ (MI) ในแต่ล่ะปี ปี 2568 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 14,992 คน และที่เป็นโรคหัวใจ 2 คน คือ แม่ลาน 1 รายและ ป่าไร่ 1 ราย, ปี 2567 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 14,951 คน และที่เป็นโรคหัวใจ 18 คน แม่ลาน 6 ราย,ม่วงเตี้ย 5 ราย และ ป่าไร่ 7 ราย,ปี 2566 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 14,772 คน และที่เป็นโรคหัวใจ 15 คน แม่ลาน 1 ราย,ม่วงเตี้ย 5 ราย และ ป่าไร่ 9 ราย ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลแม่ลาน ได้จัดทำโครงการหยุดก่อน Stroke ป้องกันได้ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินอาการเบื้องต้นได้และจะช่วยการเข้าถึงบริการของหน่วยบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุ และวิธีป้องกัน ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุ และวิธีป้องกันได้ |
||
2 | ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการเลิกบุหรี่ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการเลิกบุหรี่ได้ |
||
3 | สนับสนุนการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน เช่น การวัดความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด ประชาชนสามารถประเมินอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้น |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ชี้แจงให้ผู้บริหารท้องถิ่นตกลงเงื่อนไขและการสังเกตอาการกับหน่วยบริการและเครือข่ายของหน่วยบริการนั้น
2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบและเชิญชวน พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง เข้าร่วมโครงการและลงทะเบียน
3.จัดการให้ความรู้และทักษะการประเมินผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง “BEFAST”
4. จนท.สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเครือข่ายออกชุมชนตามระยะเวลาที่กำหนด
5.สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2568
- ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและสามารถป้องกันตนเองได้
- ลดปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น ความดันโลหิตสูง น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง
- ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น ออกกำลังกายและเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและความรุนแรงของโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 09:31 น.