โครงการอาหารสะอาดปลอดภัย ใส่ใจคุณภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการอาหารสะอาดปลอดภัย ใส่ใจคุณภาพ |
รหัสโครงการ | 68-L5200-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 12 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวเพ็ญนภัส รัตนะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.693,100.777place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นิยมการประกอบอาหาร เพื่อบริโภคเอง เปลี่ยนเป็นนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ สถานที่จำหน่ายอาหารจึงมี ผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากสถานที่จำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อ โรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ดังนั้นการ ควบคุมดูแลสถานประกอบกิจการร้านอาหารให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นความมีออาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ซึ่ง เป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการ ปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร รวมทั้งในปัจจุบัน สภาพตลาดสดส่วนมากมักมีสภาพแวดล้อมที่อาจไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น แม่ค้าวางของไม่เป็นระเบียบ วางบนพื้นข้าง ทางเดิน มีสภาพน้ำเสียขังอยู่บริเวณตลาด มีขยะมูลฝอย มีแมลงและหนูซึ่งเป็นพาหะนำโรคต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสภาพ เหล่านี้อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเข้าสู่อาหารที่เรารับประทานได้ เพราะปัจจุบันยังพบการปนเปื้อนของอาหารจากสารที่ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ผู้จำหน่ายอาหารบางรายอาจจะทราบแต่ยังไม่ตระหนักถึง ความปลอดภัยของผู้บริโภคเท่าที่ควร เพราะประชาชนผู้บริโภคนั้นต้องได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร อาหาร ที่บริโภคต้องไม่เป็นพิษ มีความสะอาด ปลอดภัย และไม่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค รวมทั้งสารเคมีอันตรายต่างๆ ฉะนั้น ผู้ประกอบการจำหน่ายและปรุงอาหารจึงจำเป็นต้องได้รับความรู้ มีความใส่ใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และมีความ ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคมากขึ้น ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ - ๒๕๖๗ เทศบาลตำบลนาทวี ได้ดำเนินกิจกรรมการตรวจสถานที่จำหน่ายอาหาร ตามหลักเกณฑ์ด้านสุขาภิบาลอาหาร จำนวน ๖๑ ร้าน, ๔๔ ร้านและ ๓๖ ร้านตามลำดับ พบว่ายังมีร้านอาหารที่ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร และยังมีร้านที่ไม่ได้รับการตรวจประเมิน จึงมีความเสี่ยงทั้งในด้านความสะอาดถูก หลักสุขาภิบาลของสถานที่ผลิตและจำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของผู้ผลิตและผู้สัมผัสอาหาร คุณภาพอาหาร รวมไปถึง การปนเปื้อนของอาหารจากจุลินทรีย์ และดำเนินกิจกรรมการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจากแผงลอยในตลาดสด เทศบาลตำบลนาทวี จำนวน ๑๓ ร้าน, ๑๓ ร้านและ ๑๑ ร้านตามลำดับ ซึ่งพบว่าอาหารบางชนิดตรวจพบสารปนเปื้อน และอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เทศบาลตำบลนาทวีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการสะอาด ปลอดภัย ใส่ใจคุณภาพ เพื่อให้สถานที่จำหน่ายอาหารมีสุขลักษณะที่ดีและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตระหนักถึง ความปลอดภัยของผู้บริโภค และเพื่อปรับปรุงพัฒนาตลาดสดให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ และให้ประชาชน ได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล ตำบลนาทวี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๓.๑ จัดทำโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
๓.๒ จัดทำแผนการดำเนินงาน
กิจกรรมตรวจสถานที่จำหน่ายอาหารตามหลักเกณฑ์ด้านสุขาภิบาลอาหาร
กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนแผงลอยจำหน่ายอาหารตลาดสด
กิจกรรม Big Cleaning Day ตลาดสดเทศบาลตำบลนาทวี
๓.๔ ติดตามการดำเนินงาน
๓.๖ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
๘.๑ ร้านอาหารในเขตเทศบาลตำบลนาทวีผ่านเกณฑ์การตรวจสถานที่จำหน่ายอาหารตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์ด้านสุขาภิบาลอาหาร และได้รับป้ายรับรองความปลอดภัยด้านอาหาร (SAN)
๘.๒ แผงลอยจำหน่ายอาหารในตลาดสดเทศบาลตำบลนาทวีจำหน่ายอาหารที่สะอาด มีคุณภาพและปลอดภัย ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ส่งผลให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี
๘.๓ ผู้ประกอบการแผงลอยในตลาดสดเทศบาลมีความรู้ด้านความปลอดภัยของอาหาร
๘.๔ ตลาดสดได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 09:56 น.