โครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค |
รหัสโครงการ | 68-L5200-2-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.เทศบาลตำบลนาทวี |
วันที่อนุมัติ | 12 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 27,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจิตติมา เสาวนีย์พิทักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.693,100.777place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มี แนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็ก วัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย โดยในปี 2566 อำเภอนาทวีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 175 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 275.96 ต่อแสนประชากร และในเขตเทศบาลตำบลนาทวี พบผู้ป่วย จำนวน 47 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 748 ต่อแสนประชากร และในปี 2567 เขตเทศบาลตำบลนาทวี พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 226.9 ต่อแสนประชากร ซึ่งโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดปีเว้น 2 ปี หากไม่มีการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคที่ดี อาจทำให้มีการระบาด เพิ่มขึ้นได้ การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นต้อง ระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ไข้เลือดออก รวมถึงโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลนาทวี จึงเห็น ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงได้จัดโครงการรณรงค์ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
---|
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค อย่าง เข้มแข็งและต่อเนื่อง 2.เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลนาทวี 3.เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดยุงลาย
1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรค 2.ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ได้ด้วย ตนเอง ลดการใช้สารเคมีใน การกำจัดยุงลาย 3.สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ในเขต เทศบาลตำบลนาทวี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 10:00 น.