โครงการพัฒนาแกนนำสุขภาพในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาแกนนำสุขภาพในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L5200-2-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.เทศบาลตำบลนาทวี |
วันที่อนุมัติ | 12 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 25,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจิตติมา เสาวนีย์พิทักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.693,100.777place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขส่งผลให้วิถีชีวิตและความ เป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชน การ เปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือประชาชนอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น คนไทยใช้ชีวิตแบบ รีบเร่งและแข่งขันมากขึ้นนำมาซึ่งพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพเช่น การขาดการออก กำลังกาย รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหา สุขภาพตามมาที่สำคัญได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะวิตกกังวลและความเครียดเป็นต้น การสาธารณสุขมูลฐานนั้น ได้รับการยอมรับให้เป็นนโยบายและกลยุทธ์หลักของการพัฒนาสาธารณสุข แห่งชาติมาตั้งแต่แผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ ๔ จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในแต่ละหมู่บ้านและ ชุมชน สามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพได้ และประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ระบบสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานสำหรับพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ตลอดจนถึงหมู่บ้านในเขตชนบทและชุมชนในเขตเมือง โดยมีการจัดตั้ง อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศ เพื่อให้ อสม. ที่ผ่านการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดและ จัดบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่ชาวบ้านในหมู่บ้านและชุมชน ประเมินปัญหาของชุมชนและเข้ามามีส่วน ร่วมแก้ไขปัญหาในชุมชน แต่การดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร กล่าวคือ ขาด แกนนำในการส่งเสริมและขับเคลื่อนการดำเนินงานในชุมชน ประชาชนในชุมชนไม่เข้าใจและไม่เห็นถึง ความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพียงแค่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวของเจ้าหน้าที่ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ ประชาชนขาดจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมในงานสาธารณสุขมูลฐานอย่างแท้จริงและขาดความยั่งยืน ซึ่งส่งผลต่อ ความเข้มแข็งของชุมชน ไม่สามารถตอบสนองต่อสภาวะทางสุขภาพ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในปัจจุบัน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลนาทวี จึงได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการ ดำเนินงานกิจกรรมสาธารณสุขมูลฐานในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแกนนำสุขภาพในชุมชนขึ้น โดยมี เป้าหมายที่จะพัฒนาให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความสามารถตามสภาพปัญหาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไป ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ จัดการสุขภาพในชุมชน ตลอดจนให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น มีจิตสาธารณะ ในการสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบูรณา การการทำงานร่วมกันระหว่างท้องถิ่น แกนนำสุขภาพในชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตพื้นอย่าง เข้มแข็ง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ และวางแผนการดำเนินงาน 2.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ 3.ประสานแกนนำสุขภาพในชุมชนในการเข้าร่วมโครงการ 4.ประสานวิทยากร 5.จัดซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม
ระยะดำเนินการ 1.จัดอบรมแกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 60 คน ระยะเวลา 2 วัน 2.ประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน 3.สรุปผลการดำเนินงานโครงการเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
1.แกนนำสุขภาพในชุมชนสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปัญหาสาธารณสุขที่ เปลี่ยนแปลงไปของชุมชน 2.แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ใหม่ๆ ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขมูลฐาน 3.เพิ่มขีดความสามารถให้เกิดทักษะทางวิชาการด้านสาธารณสุขอย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 10:02 น.