โครงการสูงวัยปลอดภัย ปลอดโรค ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสูงวัยปลอดภัย ปลอดโรค ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | L2542-2568-03-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 4 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะดาโอ๊ะ ตาเล๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของร่างกาย ทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายลดลง จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ โดย กลุ่มอาการที่เป็นปัญหาเฉพาะหรือพบบ่อยในผู้สูงอายุ (Geriatric Giants) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการชรา ภาพของร่างกาย ผลข้างเคียงจากยาต่างๆ และหลากหลายโรคที่มารุมเร้า ส่งผลต่อสุขภาพและการดูแลตนเองที่ถดถอยลงกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ไว้ดังนี้ 1) ความผิดปกติในการรับประทานอาหาร เป็นอาการที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพฟัน ภาวะกลืนลำบาก ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น 2) ปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่ทำให้คุณภาพการนอนลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่สดชื่น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย หรืออาจมีสาเหตุจากภาวะซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล อาการปวดต่างๆ หรือกรดไหลย้อน 3) ภาวะสมองเสื่อม หากมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม 4) ภาวะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนหรืออ่อนล้า กระเพาะปัสสาวะอ่อนไหวเกินไป ความบกพร่องในการควบคุมการกลั้นการขับถ่ายจากสมองหรือเส้นประสาท เป็นต้น 5) ปัญหาในการทรงตัวและการหกล้ม มีปัญหาจากหลายปัจจัย เช่น ข้อเสื่อม กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงโรคทางสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน หรือเส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น 6) อาการมึนงงเวียนศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตต่ำ ความ ผิดปกติของหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว (น้ำในหูไม่สมดุล) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โลหิตจาง เป็นต้น 7) ปัญหาการมองเห็นและการได้ยิน อาจเป็นผลมาจากโรคเบาหวาน ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ภาวะกระดูกพรุน เกิดจากการบางลงของเนื้อกระดูก
งานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลสากอได้เล็งเห็นความสำคัญของภาวะความเจ็บป่วยดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสูงวัยปลอดภัย ปลอดโรค ประจำปี 2568 ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง โดยนำร่องในสมาชิกที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวที่พร้อม และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้สมาชิกที่มีผู้สูงอายุในความดูแลมีความรู้ความเข้าใจในอาการแสดงทั้ง 8 กลุ่มอาการ ที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในครอบครัวได้รวมทั้งหากมี ผู้สูงอายุในครอบครัวที่เกิดโรคขึ้นแล้วก็จะสามารถให้การดูแลผู้สูงอายุให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข มีชีวิตที่ยืนยาว ตลอดจนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลให้แก่บุคคลอื่นในชุมชนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ และสามารถต่อยอดไป ยังชุมชนใกล้เคียงได้ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสากอ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ |
80.00 | 60.00 |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการบริหารร่างกาย เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ลดภาวะการเกิดโรคไม่อันตรายต่อร่างกาย ผู้สูงอายุได้ดูแลตัวเองให้ปลอดโรค ปลอดภัย ลดภาวการณ์เกิดโรค ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย |
80.00 | 60.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
4 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดฝึกอบรม | 0 | 14,350.00 | ✔ | 14,350.00 | |
รวม | 0 | 14,350.00 | 1 | 14,350.00 |
- ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
- ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพอนามัย/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต/ความรู้ในการป้องกันโรคในวัยผู้สูงอายุ
- ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
- ผู้สูงอายุมีความรัก ความสามัคคี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในชุมชน
- ผู้สูงอายุได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 00:00 น.