กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยสมาร์ทคิดส์ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 68-L3057-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเสยะวอ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 เมษายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤษภาคม 2568
งบประมาณ 38,115.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอไอมิง ปีแนบาโง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)





1,000 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นกำเนิดของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและ การเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาททำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการ เจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 – 3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพ ผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน แนวทางการดำเนินงาน ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน 1 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก ของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการ ที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพ งานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้ง กลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้ การบูรณาการความร่วมมือ กลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ในการร่วมขับเคลื่อน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็ก 0 – 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เด็ก 0 – 5 ปี มีสุขภาพดี เด็กวัยนี้ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้านได้แก่ การเจริญเติบโต สมส่วนตามวัย พัฒนาการด้ามสมองตามวัย การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ให้มีฟันผุ และรับวัคซีนครบตามกำหนด จังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายตําบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ครอบคลุมทุกตำบล เพื่อเป้าหมายเด็กปัตตานี IQ ดีที่ 104 ในปี 2569 การพัฒนาเด็กปฐมวัยถือเป็นการวางรากฐานสำคัญส่งผลต่อการพัฒนาระดับสติปัญญา และยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเติบโตเต็มศักยภาพ มี คุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่นระดับตำบล โดยระดับตำบลถือเป็นจุดคานงัดที่สำคัญที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมาย เด็กปัตตานี IQ ดีที่ 104 ได้ ซึ่งการติดตามสื่อสารนโยบายโดย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปัตตานีร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เตรียมผลิต VDO สื่อสารสร้างกระแสการรับรู้ นโยบายการขับเคลื่อนตําบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน จังหวัดปัตตานี ต่อเนื่องในปี 2568 เพื่อจะสร้างความเข้าใจในระดับพื้นที่ ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนได้รับทราบต่อไป
ผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2567 ไตรมาส 4 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 พบว่า 1) งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 34.38 2) งานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี ร้อยละ 37.15 3) งานส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก 0-5 ปี พบว่ามีเด็ก 0-5 ปี ทุกคนมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 และ 4) การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็ก 0-5 ปี พบว่ามีเด็กอายุ 3-5 ปี ฟันผุร้อยละ 48.84 อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับจังหวัด ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 60 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเสยะวอเห็นความสำคัญการดูแลสุขภาพของ เด็กแบบองค์รวมให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลกลุ่มเป้าหมายเรื่องดังกล่าวแก่มารดาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็น องค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน

เด็กที่เกิดเดือนตุลาคม 2562 – ปัจจุบัน ผ่านเกณฑ์ ทั้ง 4 ด้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 1. ได้รับวัคซีนตามครบเกณฑ์อายุ 2. มีพัฒนาการสมวัย 3. มีน้ำหนัก / ส่วนสูงสมส่วน
4. ปราศจากฟันผุ

2 2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้อง

ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการส่งเสริมดูแลสุขภาพ เด็ก 0-5 ปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. รวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อคืนข้อมูลการดำเนินงานดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ทั้ง 4 ด้าน (ด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้านโภชนาการ ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและด้านดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน) ปัญหา/อุปสรรค ถอดบทเรียนในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางแก้ไขปัญหา 2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และเครือข่ายในชุมชน 3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ตำบลปะเสยะวอ 4. ประสานเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 5. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆในการจัดกิจกรรมให้พร้อมดำเนินงาน 6. ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองสู่หนูน้อยสมาร์ทคิดส์ จำนวน 1 วัน 7. การสาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันในเด็ก 0 - 5 ปี
8. การประกวดหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ 9. ประเมินผลการอบรม 10. สรุป วิเคราะห์ ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ 11. รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม     และครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
  2. เครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็ก 0 - 5 ปี อย่างเป็นองค์รวม     และครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 10:39 น.