กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนกลุ่มเสี่ยง “รู้ตน ปรับเสี่ยง เลี่ยงโรค สู้ภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง”
รหัสโครงการ 68-L3057-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาเลาะ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤษภาคม 2568
งบประมาณ 37,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮาหมัดโยฮัน วารัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ (Non- Infection Disease) กำลังเป็นปัญหาที่สำคัญต่อสังคมไทย และมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สาเหตุที่สำคัญได้แก่พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย หรือแม้แต่ปัจจัยทางด้านสังคม ส่งผลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมให้ประชาชนป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ (Non- Infection Disease) หรือโรคเสื่อมเรื้อรัง (Chronic Degenerative Disease) เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) รวมทั้งโรคไขมันในเลือดกันมากขึ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรค NCD ดังกล่าว       จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2567 เป้าหมายประชากร 15 ปีขึ้นไปจำนวน 1,876 คน คัดกรองได้ 1,779 คน คิดเป็นร้อยละ 94.83 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 2.99 กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.33 ผู้ป่วยรายใหม่ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.33 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน 478 คน คิดเป็นร้อยละ 28.87 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 2.36 ผู้ป่วยรายใหม่สามคน คิดเป็นร้อยละ 0.17       ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบานเลาะ ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาสุขภาพ รพ.สต.บ้านบาเลาะ ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว และได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรคโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ที่ดีขึ้น จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค” ตามหลัก 3อ2ส เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตระหนักถึงภัยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตระหนักถึงภัยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 90 %
2 2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง
  • ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 5 %
3 3 เพื่อเสริมสร้างบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามวิถีในชุมชน
  • เสริมสร้างบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามวิถีในชุมชน
4 4 ชุมชนมีส่วนร่วม สู่แบบอย่างชุมชน

มีแบบอย่างชุมชนมีส่วนร่วม 1 แห่ง

120.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 37,320.00 0 0.00 37,320.00
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 1.1 อบรมเครือข่ายพัฒนาสุขภาพ รพ.สต.บ้านบาเลาะ 120 37,320.00 - -
รวมทั้งสิ้น 120 37,320.00 0 0.00 37,320.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ๑.ขั้นเตรียมการ ๑.1 จัดทำโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติ
๑.2 จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย ๑.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.4 อบรมเครือข่ายพัฒนาสุขภาพ รพ.สต.บ้านบาเลาะ 1.5 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย เรื่องปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส จำนวน 4 รุ่นๆ ละ 30 คน 1.6 ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมโครงการ ทุก 3 เดือน
1.7 เยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ๒.กิจกรรมการดำเนินการ 1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงให้เข้ากับวิถีชีวิตวิถีชุมชนจำนวนทั้งหมด 120 คน แบ่งเป็น 4 รุ่นๆละ 30 คน   ฐาน 1 ปิงปอง 7 สีรู้ตนสู่สุขภาพดี   ฐาน 2 อาหารดีๆ มีในชุมชน   ฐาน 3 ขยับกายสักนิดให้เหมาะสมกับร่างกายตน   ฐาน 4 สมุนไพรมีดี ช่วยบรรเทาอาการได้ 2. จัดตั้งคลินิกปรับเปลี่ยนกลุ่มเสี่ยง รพ.สต. 3. เยี่ยมบ้าน 4. ข้อตกลงกลุ่มเสี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม - จนท./อสม. เป็นตัวอย่างในการปรับเปลี่ยน - การประชุมจนท./อสม. - ส่งเสริมการบริโภคพืชผักในชุมชน/วัตถุดิบ - ออกกำลัง ขยับกายตามบริบทพื้นที่ 5. การพัฒนาระบบส่งต่อที่มีคุณภาพ ในกลุ่มสงสัย DM/HT และกลุ่ม Severe HT (BP>180/110 มม.ปรอท) เกิน ระยะเวลาที่กำหนด 7 วัน และไม่ได้ส่งต่อไปยังรพ.แม่ข่าย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง       - เกิดบุคคลต้นแบบในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้       - ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้       - ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้       - อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 11:09 น.