โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลงและโรคติดต่อประจำถิ่นให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนรอบศูนย์พิกุลทองฯ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลงและโรคติดต่อประจำถิ่นให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนรอบศูนย์พิกุลทองฯ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2491-2-27 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักงานโครงการงานควบคุมปราบปรามโรคติดต่อและการสาธารณสุข ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส |
วันที่อนุมัติ | 18 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 23 มิถุนายน 2568 - 27 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอุบล รัตนสมบูรณ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 370 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สำนักงานโครงการงานควบคุมปราบปรามโรคติดต่อและการสาธารณสุข ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑๒ จังหวัดสงขลา รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คือ จังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา สตูล พัทลุง และตรัง มีภารกิจงานด้านการป้องกันควบคุมโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ โรคเท้าช้าง โรคติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเรื้อน และโรคติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขอนามัย ได้แก่ โรคหนอนพยาธิ และโรคประจำถิ่นอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศการกำจัดโรคเท้าช้างในประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน 2560 และเข้าสู่ระยะการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในพื้นที่แพร่โรคเดิมของจังหวัดนราธิวาส มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2570 ใน 7 อำเภอ 22 ตำบล 87 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส ตากใบ สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี เจาะไอร้อง บาเจาะ และยี่งอ และจังหวัดนราธิวาส เป็น 1 ใน 11 จังหวัด ทั่วประเทศที่ยังคงพบผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ทุกปี เนื่องจากมีปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค จากข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2568 จังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567 จำนวน 15 ราย กระจายอยู่ในอำเภอตากใบ จำนวน 8 ราย สุไหงโก-ลก จำนวน 6 ราย
(พบเด็ก 1 ราย) และสุไหงปาดี จำนวน 1 ราย และผู้ป่วยที่ปรากฏอาการโรคเท้าช้าง จำนวน 22ราย อำเภอเมืองนราธิวาส มีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาเมื่อปี 2561 จำนวน 1 ราย และปัจจุบันมีผู้ป่วยปรากฏอาการโรคเท้าช้างที่ให้การดูแล จำนวน 2 ราย สถานการณ์โรคเรื้อน ณ วันที่ 31 มกราคม 2568 มีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567จำนวน 43 ราย จังหวัดนราธิวาส จำนวน 28 ราย ผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ที่ตรวจพบ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 จำนวน 18 ราย พบในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 13 ราย อำเภอเมืองนราธิวาส จำนวน 5 ราย (พบเด็ก จำนวน 1 ราย) และผู้ป่วยที่มีความพิการระดับ 2 คือ ความพิการที่มองเห็นด้วยตาเปล่า จำนวน 92 ราย จังหวัดนราธิวาส จำนวน 31 ราย และสถานกาณ์โรคหนอนพยาธิในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559,2566-2567 ความครอบคลุมของการส่งอุจจาระตรวจ ร้อยละ 60.96,50.73 และ 60.51 อัตราการตรวจพบหนอนพยาธิ ร้อยละ 19.15,3.73 และ 1.52 ตามลำดับ พยาธิที่ตรวจพบมากที่สุด คือ พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า
จากสถานการณ์โรคจังหวัดนราธิวาส ยังคงพบผู้ป่วยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง โรคติดต่อเรื้อรัง และโรคติดต่อจากพฤติกรรมอยู่ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเด็กซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ในพื้นที่เนื่องจากเด็กไม่มีการเคลื่อนย้ายไปไหน และผู้ป่วยที่มีความพิการแสดงให้เห็นถึงความล่าช้าในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ขาดความตระหนักเรื่องโรค และจากสถิติจำนวนผู้เข้ามาเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อ ณ ศูนย์การเรียนรู้ ด้านสุขภาพพิกุลทอง มีแนวโน้มลดลง โดยสถิติจำนวนผู้เข้ามาเรียนรู้สูงสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จำนวน 5,358 คน และจำนวนผู้เข้ามาเรียนรู้ต่ำสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 907 คน จึงทำให้ผู้รับผิดชอบงาน สำนักงานโครงการงานควบคุมปราบปรามโรคติดต่อฯ ศูนย์พิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส นำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผน และเห็นความสำคัญของโรงเรียนพระราชดำริที่ตั้งอยู่รอบ ๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง โดยเฉพาะนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน โดยเฉพาะโรคติดต่อที่นำโดยแมลง โรคติดต่อเรื้อรัง และโรคติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขอนามัย จำนวน 13 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านโคกสยา บ้านหัวเขา บ้านบางมะนาว บ้านค่าย บ้านเขาตันหยง บ้านเปล ไทยรัฐวิทยา 10 ตำบลกะลุวอเหนือ โรงเรียนบ้านโคกศิลา บ้านไร่พญา บ้านยาบี บ้านกาแนะ บ้านกูแบสาลอ และวัดกำแพง ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส รวม 370 คน เพื่อให้เกิดความตระหนักเรื่องโรค และสามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดทางการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพในอนาคต และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลง โรคติดต่อเรื้อรัง โรคติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขอนามัย ร้อยละ 100 ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้โรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลง โรคติดต่อเรื้อรัง โรคติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขอนามัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เพิ่มขึ้น |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 50,000.00 | 0 | 0.00 | |
23 - 27 มิ.ย. 68 | ถ่ายทอดองค์ความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลงและโรคติดต่อประจำถิ่นให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนรอบศูนย์พิกุลทองฯ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 | 0 | 50,000.00 | - |
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โรคเท้าช้าง โรคเรื้อน โรคหนอนพยาธิ และโรคติดต่อประจำถิ่นอื่น ๆ
- นักเรียนเกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองจากความเสี่ยงโรค
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปต่อยอดทางการศึกษาและการประกอบอาชีพในอนาคต
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 00:00 น.