โครงการสร้างสุขภาพ กินถูกวิธี ออกกำลังกายถูกใจ ลดการกินยา ห่างไกลโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ประจำปี2568
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างสุขภาพ กินถูกวิธี ออกกำลังกายถูกใจ ลดการกินยา ห่างไกลโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ประจำปี2568 |
รหัสโครงการ | L-3011-02-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะลุโบะ |
วันที่อนุมัติ | 12 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 33,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมัน สาเมาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลสถิติในปี 2550 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่ม มากขึ้น 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย และจากรายงานของสำนักงานนโยบายและสาธารณสุข (ปี2552-2567) พบว่าสาเหตุการตายด้วยโรคเบาหวานมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 12 จากการศึกษาประเมินผู้ป่วยเบาหวานและ ความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานความดันของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพช่วง ปี 2565 2566 และ 2567 พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขาดความรู้ในการดูแลตนเอง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้คงที่ ไม่เคยได้รับการตรวจเท้า ไม่รู้ว่าทำไมต้องตรวจเลือด ไม่รู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเอง ขาดความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสม ทั้งเรื่องการรับประทานอาหารการกินยาการออกกำลังกาย การดูแลระดับน้ำตาลในเลือดการดูแลเท้า ในผู้ป่วยเบาหวานว่ามีความสำคัญอย่างไรนั้นแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากการทดสอบความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านการรับประทานอาหารและยาในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบว่าผู้ป่วยยังขาดความรู้จึงส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ดี ดังนั้นโครงการนี้จึงมีความสำคัญในการเตรียมผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมจากสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักสุขศึกษาและโภชนากรโดยเน้นให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงให้สามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธีแบบพึ่งพาตนเอง ไม่ต้องพึ่งยามากเกินความจำเป็น ให้เป็นแบบยั่งยืนและนำไปพัฒนางานให้เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบครบวงจร ส่งเสริมให้ทีมงาน สหวิชาชีพมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วย ได้อย่างเป็นระบบและเป็นต้นแบบที่มีประสิทธิภาพทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะลุโบะจึงได้จัดทำโครงการสร้างสุขภาพ กินถูกวิธีออกกำลังกายถูกใจ ลดการกินยา ห่างไกลโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ประจำปี 2568 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่อง รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัยกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวานและหรือ ความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่อง รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัยกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวานและหรือความดันลหิตสูงมีความรู้เรื่อง รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัยกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง |
0.00 | 70.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีผล การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิตสูงเปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิตสูงเปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ |
0.00 | 50.00 |
3 | พื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงได้รับการติดตาม |
0.00 | 90.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดอบรมให้ความรู้ | 0 | 31,000.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | เวทีติดตามเยี่ยมบ้าน | 0 | 2,100.00 | - | ||
รวม | 0 | 33,100.00 | 0 | 0.00 |
๑. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรคการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกายได้ถูกต้องปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
๒. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถนำความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรคการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยาการออกกำลัง มาใช้ดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม
๓. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง หลังได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบครบวงจร
๔. ผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และสามารถใช้ยาได้ถูกต้องปลอดภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 11:53 น.