กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเติมยาผู้ป่วยเรื้อรัง (ขาดนัด ไม่ขาดยา)
รหัสโครงการ 68 – L3020 – 01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 20,045.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวอาแซ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร สภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทำให้มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตประจำวัน การเร่งรีบ การแข่งขันในการทำงาน ส่งผลถึงการบริโภคอาหารสำเร็จรูป อาหารถุง ประกอบกับปัจจุบันมีร้านค้าสะดวกซื้อในชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น มีรถเร่ขายอาหารถุง ทำให้ปัญหาสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป และก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานตามมา จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย ในปี 2565 - 2567 พบว่า ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 93.20,98.89 และ 96.84 ตามลำดับ และได้รับการคัดรกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 95.64,97.62 และ 94.50 ตามลำดับ พบประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 2.24,7.12 และ 6.12 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 49.45,27.85 และ 23.44 ตามลำดับ พบกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 539.81,811.69 และ 241.74  ต่อแสนประชากรตามลำดับ พบกลุ่มป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 215.92,378.79 และ 80.58 ต่อแสนประชากรตำลำดับ
  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้าน มีประชากร ทั้งหมด 3,743 คนในปีงบประมาณ 2567 พบว่ามีประชากรป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 304 คน(9659.99 ต่อแสนประชากร) ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 108 คน(3431.84 ต่อแสนประชากร) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน จำนวน 96 คน(256.48 ต่อแสนประชากร) พบกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับโรคความดันโลหิตสูงได้ดี ร้อยละ 43.05,48.53 และ 59.46 ตามลำดับ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 20.83,17.59 และ 32.20 ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือระดับน้ำตาลในเลือดได้นั้นจะทำมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและคุณภาพชีวิตต่อไปในอนาคตได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม การขาดรับยาตามนัด ไม่รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากการขาดความรู้ ความตระหนักต่อโรค และผู้ป่วยบางรายไม่มีญาตินำส่งพบแพทย์ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ งานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลม่วงเตี้ย จึงได้ปรับระบบการให้บริการในผู้ป่วยด้วยการให้ผู้ป่วยสามารถรับยาได้ที่บ้าน โดยการนำส่งยาผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พร้อมให้ผู้ป่วยวัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลปลายนิ้วสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน เพื่อลดการแออัดในสถานบริการ และช่วยบรรเทาภาระของญาติผู้ดูแลในการรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการ “เติมยาผู้ป่วยเรื้อรัง (ขาดนัด ไม่ขาดยา)” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ประชาชนเกิดความตระหนัก สามารถสร้างกระแสในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ ส่งผลให้กลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารรถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

60.00
2 เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

กลุ่มป่วยโรคเบาหวานสามารรถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

40.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวานได้รับการรักษาต่อเนื่อง

ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 70(เป้าหมายกระทรวง ฯ ร้อยละ 90)

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 190 20,045.00 0 0.00 20,045.00
9 เม.ย. 68 อบรมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานเกี่ยวกับการติดตามวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว และการรายงานผลเพื่อเบิกยาแทนผู้ป่วย และการติดตามดูแลการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย อสม.,แกนนำ,จนท. 55 13,400.00 - -
23 เม.ย. 68 อบรมผู้ป่วย/ญาติผู้ดูแล 70 4,250.00 - -
15 ส.ค. 68 ประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงานการเบิกยาแทนผู้ป่วยและญาติ 65 2,395.00 - -
รวมทั้งสิ้น 190 20,045.00 0 0.00 20,045.00

1.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการและมอบหมายภารกิจแก่ อสม. แกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่
2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย เลือกกลุ่มเป้าหมายที่ควบคุมระดับความดันโลหิต/ระดับน้ำตาลในเลือดได้
3.จัดทำแนวทางการติดตามวัดความดันโลหิต/การเจาะน้ำตาลปลายนิ้วผู้ป่วยที่บ้าน การบันทึก การรายงานผลการตรวจ และการรับยาแทนผู้ป่วยและส่งมอบยาผ่าน อสม.
4.จัดประชุมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และการให้ความร่วมมือกับ อสม.
5.ประสานคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.แม่ลาน เพื่อจัดทำแนวทางการนัดรับยา
6.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม. แกนนำชุมชน ให้สามารถวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว และการรายงานผลเพื่อเบิก ยาได้อย่างถูกต้อง
7.ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน/ละแวกบ้าน เพื่อติดตามการกินยาแนะนำการปฏิบัติตัว ตามพื้นที่รับผิดชอบของ อสม. ทุก 1 เดือนหรือตามแผนการรักษาของแพทย์ รวม 3 ครั้ง
8.การติดตามตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีละ 1 ครั้ง
9.ประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน
10.รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวานได้รับการรักษาต้อเนื่องตามแผนการรักษา
2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
4.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวานไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 12:01 น.