โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L3020-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านม่วงเตี้ย |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 19,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมลฤดี ศิริยะพันธ์ุ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.677,101.266place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 65 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย เป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคนซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไป สู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านบ้านม่วงเตี้ย จำนวน 310 คน พบว่ามีเด็กค่อนข้างผอมและผอมจำนวน 80 คน เด็กค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยจำนวน 35 คน เด็กเริ่มอ้วนและอ้วนจำนวน 8คน เด็กผอมและเตี้ยจำนวน 35 คน ถือได้ว่าเป็นภาวะที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เกินเกณฑ์ หรือกลุ่มเสี่ยง นับว่าเป็นปัญหาภาวะทุพโภชนาการจำนวนทั้งหมด 102 คน คิดเป็นร้อยละ 32.90 จากการสอบถามเด็กดังกล่าวพบว่า เด็กมาโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเด็กรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ครูและบุคลากรเพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้วย
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านม่วงเตี้ยจึงได้จัดทำ“โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียน” เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็กและติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยงส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ ทางด้านสติปัญญาด้วย โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการอย่างครอบคลุม |
||
2 | เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ผู้ปกครองมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน |
||
3 | เพื่อให้นักเรียนที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เกินเกณฑ์ และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด นักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 65 | 19,500.00 | 0 | 0.00 | 19,500.00 | |
17 ก.ค. 68 | ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วนตามหลักโภชนาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โภชนาการเด็กวัยเรียน | 65 | 19,500.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 65 | 19,500.00 | 0 | 0.00 | 19,500.00 |
- ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำโครงการ
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ประสานวิทยากร เตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม
- เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในวันดำเนินโครงการ
- ดำเนินการโครงการตามแผน
- เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้นักเรียนรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
- นักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร
- นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 12:54 น.