กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
รหัสโครงการ 68-L3020-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 186,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักพันธ์ อินทรโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ของหญิงกำลังมีครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการปรับตัวอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ของร่างกายที่จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตทางจิตสังคมและที่สำคัญครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการปรับตัวและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยที่กลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น ได้แก่การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์ ขณะเจ็บครรภ์คลอดและหลังคลอด การฝากครรภ์ การบริโภค การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และการพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย ตลอดจนการส่งเสริมและป้องกันแก้ไขภาวะโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ต้องมีการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการที่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ทันท่วงทีก่อนที่จะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
            จากระบบคลังข้อมูลทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าจากปีงบประมาณ 2560 ถึง 2565 อัตราตาย ทารกแรกเกิดภายใน 28 วัน (Neonatal Mortality Rate) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 4.4 เพิ่มเป็น 4.8 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน สาเหตุหลักร้อยละ  40 มาจากการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้น หากจะลดอัตราตายทารกแรกเกิดให้เห็นผล จึงต้องลดการคลอดก่อนกำหนด ได้มีความพยายามดำเนินการเพื่อลดทารกคลอดก่อนกำหนดมาเป็นเวลายาวนาน แต่ยัง ไม่มีแนวโน้มลดลง การคลอดก่อนกำหนดมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายด้าน การแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว อาจไม่ครอบคลุมปัจจัยสาเหตุได้ทั้งหมด จึงต้องดำเนินการในมิติอื่นด้วย ทั้งด้านเฉพาะตัวบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และควรมีกลไกการกำหนดนโยบายและการบูรณาการความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคม
            องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลม่วงเตี้ย ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับความรู้และการดูแลทันทีที่ตั้งครรภ์ด้วยการฝากครรภ์ทันทีตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การส่งเสริมภาวะโภชนาการ แก้ไขปัญหาโภชนาการในขณะตั้งครรภ์ และติดตามให้มารดาเลี้ยงดูทารกด้วยนมมารดาอย่างถูกต้อง จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และ(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง

หญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ และฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

90.00
2 เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 90 มีสุขภาพแข็งแรง และได้รับโภชนาการที่ถูกต้อง

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 186,500.00 0 0.00 186,500.00
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และการส่งเสริมโภชนาการในขณะตั้งครรภ์ 80 15,200.00 - -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมและติดตามหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 50 คน และมอบวัสดุส่งเสริมสุขภาพเพื่อโภชนาการที่ดี (ไข่ไก่และนมสดสเตอริไลซ์) เดือนละ 1 ครั้ง 50 171,300.00 - -
รวมทั้งสิ้น 130 186,500.00 0 0.00 186,500.00

ขั้นตอนเตรียมการ
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
ขั้นตอนดำเนินการ
1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
2. อบรมให้ความรู้ ตัวแทน อสม. แต่ละหมู่บ้าน จำนวน 30 คน และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ - จนถึงคลอดที่ลงชื่อเข้าร่วมโครงการจำนวนประมาณ 50 คน
3. ติดตามกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ขึ้นทะเบียนเพื่อติดตามภาวะสุขภาพ และป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ
4. ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปเข้าร่วมโครงการ และชี้แจงข้อตกลงระหว่าง อบต. กับหญิงตั้งครรภ์เพื่อรับการสนับสนุนไข่ไก่สด จำนวน 30 ฟองและนมสดสเตอริไลซ์ จำนวน 30 กล่อง/เดือน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
  4.1 มีชื่อตามทะเบียนบ้านในเขต อบต.ม่วงเตี้ย (อย่างน้อย 6 เดือน นับถึงวันขึ้นทะเบียน) และพักอาศัยอยู่ในเขต อบต. จริง
  4.2 เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ – จนถึงกำหนดคลอด
  4.3 ยื่นคำร้องและทำข้อตกลงระหว่าง อบต.ม่วงเตี้ยกับหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ
5. มอบวัสดุส่งเสริมสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ ได้แก่ ไข่และนม เดือนละ 1 ครั้ง ให้กลุ่มป้าหมาย
6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
7. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจ และติดตามให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน
  3. มารดาหลังคลอดและทารกปลอดภัยจากการคลอด และทารกแรกคลอดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 13:31 น.