โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
รหัสโครงการ | 68–L3020-03-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกูแบปูยู สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 24,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศรีพร วงศ์มณี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.677,101.266place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 86 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การเจริญเติบโตของเด็กมีปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน ภาวะโภชนาการ และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง รวมถึงอาหารซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก อาหารช่วยสร้างเสริมให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย และควบคุมการทำงานของร่างกายให้ปกติ การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ อาหารดี มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย และมีปริมาณเพียงพอโดยคำนึงถึงคุณค่าของอาหาร การเกิดปัญหาสุขภาพ อันเนื่องมาจากการขาดสารอาหาร หากบุคคลใดได้รับอาหารไม่เพียงพอและไม่ถูกสุขลักษณะ จะทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิด เบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากการได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 2 – 5 ขวบ จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งจากข้อมูลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย ปีการศึกษา 2567 จากจำนวนเด็กทั้งหมด 86 คน อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 13.95 ซึ่งต้องเฝ้าระวัง และดูแลเอาใจใส่เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในการรับประทานอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย ได้เล็งเห็นความสำคัญของพัฒนาการเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมถึงพัฒนาการของสมองเหมาะสมตามวัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ เด็กปฐมวัย ร้อยละ 98 ไม่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ |
98.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย เด็กปฐมวัย ร้อยละ 98 มีสุขภาพแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงสมวัยตามเกณฑ์มาตรฐาน |
98.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย ร้อยละ 98 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการในเด็กปฐมวัย |
98.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ (กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง 70 คน ผู้ประกอบอาหาร 4 คน ครู 9 คน เจ้าหน้าที่ 3 คน ) | 86 | 21,250.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | สาธิตประกอบอาหาร | 70 | 3,000.00 | - | ||
รวม | 156 | 24,250.00 | 0 | 0.00 |
1.เตรียมความพร้อมของผู้ดำเนินโครงการ
2.จัดประชุมชี้แจงการดำเนินการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
3.เขียนโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน สปสช.จากอบต.ม่วงเตี้ย
4.จัดซื้อวัสดุในการจัดโครงการ
5.ดำเนินจัดกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยการฝึกอบรมให้ความรู้ ประกวดหนูน้อย สาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กเล็ก
6.ประเมินผลและรายงานผล
1.เด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง
2.เด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการทางร่างกายและเจริญเติบโตสมวัย
3.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการเลี้ยงดูบุตรให้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 14:06 น.