โครงการอบรมนักเรียนเรื่อง จิตวิทยาการรับมือกับภัยยาเสพติด และบทลงโทษในวิถีอิสลาม
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมนักเรียนเรื่อง จิตวิทยาการรับมือกับภัยยาเสพติด และบทลงโทษในวิถีอิสลาม |
รหัสโครงการ | 68-L3020-02-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านคูระ |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวตอยยีบะห์ บาโง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.677,101.266place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 39 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ยาเสพติดเป็นภัยที่ส่งผลกระทบทั้งในด้านสุขภาพกายและจิตใจ ทำลายสติปัญญาและคุณค่าของมนุษย์ ซึ่งตรงข้ามกับหลักคำสอนของอิสลามที่มุ่งเน้นให้ใช้สติปัญญาในการแยกแยะความดีและความชั่ว นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสังคม เช่น อาชญากรรม ลักขโมย และความขัดแย้งภายในชุมชน ปัจจุบันจะเห็นว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นบ่อนทำลายเยาวชนและความมั่นคงของชาติ ผู้เสนอโครงการเล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงเสนอโครงการเพื่อจัดการอบรมความรู้แก่เยาวชน ถึงวิธีการทางจิตวิทยาในการรับมือกับการชักชวนจากกลุ่มเพื่อน สังคม การจัดการกับอารมณ์ ความเครียด การรู้จักตนเอง การรู้จักปฏิเสธ การคบเพื่อน ข้อห้ามและโทษเกี่ยวกับยาเสพติดตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้นักเรียนมีวิธีการความรู้และความมั่นคงทางจิตใจ ให้ห่างไกลยาเสพติด โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยามีการบูรณาการหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตและกลยุทธ์ทางจิตวิทยาให้แก่บุคคล เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบของพิษภัยจากยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างทักษะด้านการตัดสินใจ การจัดการอารมณ์และความเครียด รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดี เป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการเสพยาติด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | นักเรียนมีทักษะด้านการจัดการอารมณ์ การตัดสินใจ และการสื่อสาร เพื่อให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์เสี่ยงและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ นักเรียนร้อยละ 100 มีทักษะด้านการจัดการอารมณ์ การตัดสินใจ และการสื่อสาร เพื่อให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์เสี่ยงและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ |
100.00 | |
2 | นักเรียนมีความเข้าใจหลักคำสอนและบทลงโทษในประมวลกฎหมายอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด พร้อมทั้งประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อคุณค่าของสติปัญญาและจริยธรรม นักเรียนร้อยละ 100 มีความเข้าใจหลักคำสอนและบทลงโทษในประมวลกฎหมายอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด พร้อมทั้งประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อคุณค่าของสติปัญญาและจริยธรรม |
100.00 | |
3 | เพื่อกระตุ้นให้บุคคลมีความเข้าใจในคุณค่าของตนเองและสร้างความมั่นใจในตัวเอง ผ่านการฝึกทักษะและกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการเติบโตทั้งทางจิตใจและจริยธรรม นักเรียนร้อยละ 100 มีความเข้าใจในคุณค่าของตนเองและสร้างความมั่นใจในตัวเอง ผ่านการฝึกทักษะและกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการเติบโตทั้งทางจิตใจและจริยธรรม |
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นที่ 1 การปรับเปลี่ยนอารมณ์ การจัดการความเครียด และการเสริมสร้างความเข้มแข็งภายใน (เช่น CBT, Mindfulness)
ขั้นที่ 2 การฝึกการตัดสินใจ การวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขข้อขัดแย้งในชีวิตประจำวัน
ขั้นที่ 3 ฝึกทักษะการสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพที่ดี เพื่อให้สามารถปฏิเสธข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดได้
ขั้นที่ 4 ผสานหลักคำสอนของอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสติปัญญาและการห่างไกลสารเสพติด เช่น การอธิบายแนวคิด “ไม่มีศาสนาสำหรับผู้ไม่มีสติปัญญา”
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากโครงการคือการสร้างสังคมที่ตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองและผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสามารถต่อสู้กับปัญหาสารเสพติดได้อย่างยั่งยืน การส่งเสริมแนวคิดเชิงบวกและการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาจะช่วยให้ชุมชนมุสลิมมีความเข้มแข็งและสามารถฟื้นฟูคุณธรรมตามหลักศาสนาได้อย่างเต็มที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 14:26 น.