โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนําฯ ด้านการส่งเสริมสุขภาพในวัยรุ่น เขตเทศบาลควนเสาธง
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนําฯ ด้านการส่งเสริมสุขภาพในวัยรุ่น เขตเทศบาลควนเสาธง |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน รพ.ตะโหมด |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 25,980.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมูนะ พงษ์พยัฆ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการดํารงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี๋ยวอีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทําให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความ อบอุ่นเยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลเอาใจใส่ และชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทําให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลก อินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทําให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุม อารมณ์ มีความอยากรู้อยากลองยาเสพติด การคบเพื่อน ตลอดจนการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เยาวชน ขาดความเข้าใจเรื่องดังกล่าว ทุกภาคส่วนในสังคมควรตระหนัก และช่วยกันเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหา เพื่อให้เยาวชน ในพื้นที่มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั้ง ๔ ด้าน (๔ ตี) ได้แก่ ด้านร่างกาย สังคม จิตใจหรืออารมณ์ และปัญญา อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ถือเป็นกําลังสําคัญหลักในการดังนั้น การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เยาวชนในพื้นที่ได้มีภูมิคุ้มกันในการดูแลตนเองและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด โรค เอดส์ และการป้องกันก่อนวัยอันควร ดังนั้นเพื่อพัฒนาให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่ม เพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาสุขภาพปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการ ป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน รพ.ตะโหมด ม.๔ ตําบลแม่ขรี ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญใน การส่งเสริมสุขภาพในวัยรุ่น เขตเทศบาลควนเสาธงจึงได้จัดทําโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนําฯ ด้านการส่งเสริม สุขภาพในวัยรุ่น เขตเทศบาลควนเสาธง เพื่อเป็นการส่งเสริมวามรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก ปัญหา ยาเสพติดในวัยรุ่น และปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และนําไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน วัยรุ่นปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ต่อไปได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น และปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
|
||
2 | เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑จัดประชุมชี้แจง อสม. รายละเอียดโครงการและคัดเลือกแกนนํา อสม.และตัวแทนภาคประชาชน
๑.๒ จัดทําโครงการ เพื่อขออนุมัติ ฯ
๑.๓ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทีมวิทยากร จากโรงพยาบาลตะโหมด
๒. ขั้นดําเนินการ
๒.๑จัดอบรมแกนนําเรื่องการป้องกันปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
สําหรับอสม. และแกนนาในชุมชน
๒.๒ ประเมินผลโครงการ สรุปการประเมินผลเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตําบลควนเสาธง
๑. แกนนําที่เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น และ ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ๒. เกิดการจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น / TO BE NUMBER ONE ใน ชุมชน หมู่ละ ๑ แห่ง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2568 04:35 น.