โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลตะโหมด |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 18,226.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมูนะ พงษ์พยัฆ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปี พ.ศ. 2568 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบาย คนไทยห่างไกลโรค และภัยสุขภาพ การดูแลผู้ป่วย NCDs โดยลดหรือไม่ใช้ยาเคมีในการรักษา โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย อาทิ เบาหวานขึ้นตา โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และการสูญเสียเท้าจาก แผลเบาหวาน หากได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง เนื่องจากเมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เมื่อเวลาผ่านไปเบาหวานสามารถก่อให้เกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือด และ เส้นประสาท ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าได้ไม่ดี เส้นประสาทรับความรู้สึกมีความผิดปกติ ทำให้เกิดอาการชาและการรับรู้ที่เท้าเสียไป เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย หากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสมอาจเกิดการลุกลามของแผลจนต้องสูญเสียเท้าในที่สุด นับเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติด้วย เพื่อตอบสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพื้นที่เทศบาลตำบลควนเสาธง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมการลดอาการชามือชาเท้าและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมความรู้ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานรู้จักสมุนไพรไทยลดน้ำตาลในเลือด
|
||
2 | เพื่อส่งเสริมความรู้การลดอาการชามือชาเท้าและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
|
||
3 | เพื่อลดอาการชามือชาเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
- วางแผนการดำเนินงานในกลุ่มงานแพทย์แผนไทย
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
- จัดเตรียมสมุนไพรและสื่อที่ใช้ในการสอน
- จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ประเมินผลหลังการอบรม
- สรุปผลโครงการ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เรื่องสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เรื่องการลดอาการชามือชาเท้าและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอาการชามือชาเท้าลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2568 05:26 น.