โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลตะโหมด |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 23,652.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมูนะ พงษ์พยัฆ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความ สูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่า ปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสําคัญในระดับประเทศเรื่อยมาปัญหาการแพร่ระบาดของ โรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทําให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบาย เชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความ รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดําเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสําคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้อง ช่วยกัน กระตุ้นและชักนําให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสําคัญที่ต้องเร่งรัดดําเนินการ ตําบลแม่ขรี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อ ประชากรแสนคน ในปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๖ เท่ากับ ๑๐๐.๒๑ (๗ ราย) และ ๑๘๑.๑๐ (๑๓ ราย) ต่อประชากรแสนคน ตามลําดับ (ที่มา : งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง) ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตําบล แม่ขรี จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคมของทุกปี ปัจจุบันในพื้นที่เขตเทศบาลตําบลควนเสาธง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมี ผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจําเป็นต้องทําการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ใน สภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาล ตะโหมด จึงได้จัดทําโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดจํานวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุ
|
||
2 | เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคลครอบครัวชุมชนให้มีศักยภาพในการดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
|
||
3 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก 4.เพื่อให้ประชาชนมีบทบาทในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเอง
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.จัดประชุมเพื่อวางแผนการดําเนินโครงการร่วมกับภาคีเครือข่าย กรรมการหมู่บ้าน อสม. ผู้นําชุมชน แยกรายหมู่บ้าน)
2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการคัดแยกขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วย หลัก 5 ป. 1 ข. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนผ่านหอ กระจายข่าวหมู่บ้าน
3.จัดกิจกรรมรณรงค์ เดินปูพรม สํารวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลายโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ใน หมู่ที่ 2,4,7 และ หมู่ที่ 8 ตําบลแม่ขรีเขตเทศบาลตําบลควนเสาธง
4. พ่นหมอกควันกรณีเกิดผู้ป่วยในชุมชนจํานวน 3 ครั้งต่อ 1 ราย ร่วมกับการทําลายแหล่งเพาะ
5.พันธ์ลูกน้ํายุงลาย 0-7-14-21 และพ่นหมอกควันในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอม 2 ครั้ง
6. สรุปผลการดําเนินงาน
1.ทําให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดําเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
3.ค่าดัชนีลูกน้ํายุงลายในหมู่บ้าน HI
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2568 05:36 น.