โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-19 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านด่านโลด |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 26,504.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวันเพ็ญ สังเขตร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสําคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศ เนื่องจากความ รุนแรงของโรคแปรผันโดยตรงต่ออัตราการตาย และการป่วย โรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อ สุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามลําดับ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทําให้ผู้ป่วยเข้า สู่ ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยใน กลุ่มเด็กอายุระหว่างอายุ ๕-๙ ปี แต่ปัจจุบันสามารถพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุ และโรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อวิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เรื่อยมา ซึ่งในแต่ละปีจะมีรายงานทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก ที่มีข้อมูลเกิดโรคในอัตราการป่วยที่ยังคงสูง จากสถานการณ์ปัจจุบันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัด พัทลุง พบว่ามีการระบาดอยู่ในอัตราที่สูง และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปีที่ผ่านมา อําเภอตะโหมด พบการระบาดของโรคตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่เข้าฤดูฝน ส่วนใหญ่พบผู้ป่วย โรคไข้เลือดออกในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ครอบคลุมทุกตําบลในอําเภอตะโหมด เมื่อพบผู้ป่วยเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขลงพื้นที่สอบสวนโรคและพ่นหมอกควันรัศมี ๑๐๐ เมตรทันที แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการระบาด ได้ โดยมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทุกคนต้องเร่งแก้ไข ควบคุมอย่างเร่งด่วน ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและกําจัดลูกน้ําและตัวแก่ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก จึงได้ ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทําโครงการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้นําชุมชน อสม. และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
|
||
2 | เพื่อกําจัด ควบคุมและทําลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในหมู่บ้านให้ลดน้อยลง
|
||
3 | เพื่อลดค่า HI และค่า CI ในหมู่บ้าน
|
||
4 | เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้นําหมู่บ้าน ชาวบ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุข
๒. ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยการติดป้ายไวนิลแนะนําวิธีการกําจัดลูกน้ํายุงลาย
๓.จัดกิจกรรมรณรงค์ทําลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกําจัดลูกน้ํายุงลาย แจกทรายอะเบท โลชั่น ทากันยุง
๔. สํารวจและทําลายลูกน้ํายุงลายโดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน
๕. สํารวจและทําลายลูกน้ํายุงลายในหมู่บ้าน วัด มัสยิด โรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข
๖.. ควบคุมโรคทางเคมี โดยการพ่นสารเคมี (ULV) กรณีที่มีการระบาดของโรค
๗. สรุปประเมินผลโครงการ
๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ๒. ประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2568 05:55 น.