โครงการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-21 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านด่านโลด |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 17,726.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวันเพ็ญ สังเขตร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพมีมาดั้งเดิมอยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัย กรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคมวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่ จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทําให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลักโดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญา และองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ขาดการสืบ ทอด ทําให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็นทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้ สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัว หมอพื้นบ้าน ตํารา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณีและวิถี ชีวิต ฯลฯ มีความสําคัญและเป็นสิ่งล้ําค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ หมู่ที่ ๓ บ้านด่านโลด ยังมีหมอพื้นบ้าน ซึ่งมีความรู้เรื่องสมุนไพรและการผลิตยาสมุนไพรใช้เองในครัวเรือน นั้น ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านด่านโลด จึงมีการจัดทําโครงการส่งเสริมสุขภาพด้าน การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของสมุนไพร การนํามาใช้ในชีวิตประจําวันให้มาก ขึ้นและการทําน้ํามันสมุนไพร
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการยาสมุนไพรและการใช้ยาสมุนไพร
|
||
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถทําน้ำมันสมุนไพร
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๑.จัดทําแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
๒. ประชุมประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
๓. ประชาสัมพันธ์โครงการ
๔. จัดอบรมส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย
๕. สรุปผลโครงการ
๑. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนําความรู้ไปดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับตนเองครอบครัวและชุมชนได้
๒. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในภูมิปัญญาการผลิตน้ำมันสมุนไพรใช้เอง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2568 06:33 น.