กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัด ประชารัฐ สร้างสุข และสถานีสุขภาพชุมชน (Health station)
รหัสโครงการ 68-L3329-2-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 21,076.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรวรรณ คำคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มุ่งหวังพัฒนาให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข สถาบันพระพุทธศาสนาอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างช้านาน ปัจจุบันวัดในประเทศไทยมีจำนวน 41,205 วัด เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพจำนวน 2,253 วัด ตามมติมหาเถรสมาคมและมติสมัชชาแห่งชาติ ให้มีการขับเคลื่อนงาน “พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ” โดยกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาทิ มหาวิทยลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและพระสงฆ์นักพัฒนา ได้ร่าวมกันพัฒนาหลักสูตร “พระคิลานุปัฎฐาก พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว)” เพื่อส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ และขับเคลื่อนการดำเนินงานธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อให้พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง และให้คำแนะนำ ดูแลพระสงฆ์ภายในวัด และชุมชน รวมถึงเพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลพระสงฆ์และการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และพัฒนาวัดให้เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ๒ ใน ๓ ของประชากรไทย ส่งผลต่อ ทั้งต้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึงและประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด - ๑๙ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพติจิทัล (Digital Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับ ให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม ได้ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพและมีความคาดหวังว่าจะช่วยให้พระภิกษุสงฆ์ ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังลงได้ จึงได้เขียนโครงการนำร่องจัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน ( Health Station)ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการส่งเสริมและป้องกันโรคในกลุ่มพระภิกษุ สามเณร รวมทั้งประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม

 

2 เพื่อจัดตั้งจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชนนำร่อง ( Health station) สำหรับประชาชนในพื้นที่

 

3 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น

 

4 เพื่อให้ผู้ป่วยที่แพทย์ต้องติดตาม สามารถเข้าถึงบริการได้ อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการขออนุมัติโครงการจากเทศบาลควนเสาธง
  2. รวบรวมและสำรวจข้อมูลพระภิกษุ สามเณร
  3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องพระภิกษุเรื่องพระคิลานุปัฏฐาก อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับพระภิกษุ สามเณร และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมตามหลัก 3อ2ส
  4. จัดกิจกรรมทำความสะอาดพัฒนาวัดตามแนวทาง 5ส
  5. จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องสุขภาพตามหลัก 3อ2ส การแปลผลสุขภาพด้วยตนเอง
  6. จัดห้องปฐมพยาบาล อุปกรณ์ ในการดูแลพระสงฆ์อาพาธ แผ่นพับให้ความรู้ภายในวัด
  7. ตรวจสุขภาพพระภิกษุ สามเณร
  8. ติดตามประเมินผล
  9. สรุปผลการดำเนินการโครงการ นำเสนอนความก้าวหน้า ปัญหา ข้อเสนอแนะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. พระสงฆ์อาพาธและประชาชนที่เจ็บป่วยได้รับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
  2. มีภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์
  3. วัดมีภูมิทัศน์ที่สะอาด ร่มรื่น สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพพระสงฆ์และประชาชน
  4. ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้อต้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2568 05:16 น.