โครงการพลังชุมชนรวมใจสร้างสุขภาพดีด้วยวิถีแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการพลังชุมชนรวมใจสร้างสุขภาพดีด้วยวิถีแพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-24 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววรวรรณ คำคง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การแพทย์แผนไทย ( Thai traditionalmedicine ) เป็นภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพมาเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบการแพทย์ที่เกิดจากการเรียนรู้การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์การถ่ายทอด และการผสมผสานกับการแพทย์ท้องถิ่นและระบบการแพทย์อื่นที่เข้ามาสู่สังคมไทย ในสมัยต่าง ๆ จนกลายมาเป็นระบบการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยเน้นความสมดุลของธาตุภายในร่างกายและความสมดุลภายในจิตใจเมื่อทบทวนกระแสพระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอดีพอควรสมเหตุสมผลและมีความสมดุลเพื่อความสุขและสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสมเหตุสมผลมีภูมิคุ้มกันพึ่งพิงดูแลตัวเองและคนในครอบครัวได้ยั่งยืน การส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกหลานในครัวเรือนได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทยโดยใช้การแพทย์แผนไทยหรือใช้ภูมิปัญญา เช่นการใช้อาหารพืชผักผักสมุนไพร การนวดพื้นฐาน ในการประคบการนวดฝ่าเท้าการบริหารด้วยท่าฤๅษีตัด มาปฏิบัติดูแลสุขภาพคนในครัวเรือนก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ครอบครัวมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดปัญหาการใช้ยาแผนปัจจุบัน ขณะเดียวกันภูมิปัญญาไทยในอดีตมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ย่าตา ยาย ก็มีการใช้ต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคนได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างดีทั้งยังไม่มีอาการข้างเคียงและยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและประเทศชาติอีกด้วย นอกจากนี้การนวดประคบสมุนไพร การนวดเท้าและการรับประทานอาหารตามหลักธาตุเจ้าเรือนนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในครัวเรือน ก็จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดทำให้เกิดสายใยรักอบอุ่น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดีด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยวน จึงได้จัดทำโครงการพลังชุมชนรวมใจสร้างสุขภาพดี ด้วยวิถีแพทย์แผนไทย โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อสุขภาวะที่ดีในการส่งเสริมชุมชนผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวีถีความพอเพียงอยู่แล้ว การทำโครงการนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถเชื่อมโยงคนในชุมชนให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นและเป็นการเสริมสร้างจริยธรรมและรักษาวัฒนธรรมไทยเป็นกระบวนการสร้างความรักเอาใจใส่ ส่งเสริมสร้างวีถีครอบครัวอบอุ่นสังคมเข้มแข็งได้ยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
|
||
2 | เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพและเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล
|
||
3 | เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรมให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัวและชุมชนได้
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เขียนโครงการเสนอเพื่อของบประมาณ
- จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพรสำหรับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ พร้อมทั้งจัดทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร 2.1 จัดทำลูกประคบ 2.2 จัดทำยาใส่แผลสด 2.3 จัดทำสเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อย
- จัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และประชาชนที่สนใจเกี่ยวกับสมุนไพรสำหรับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ
- ส่งเสริม/สนับสนุนการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก ในการนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยตนเอง
- ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน
- ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป
- ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
- ประชาชนสามารถใช้องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในการดูแลส่งเสริมสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2568 05:37 น.