โครงการพัฒนาสุขภาพและสังคมผู้สูงอายุ
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาสุขภาพและสังคมผู้สูงอายุ |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-26 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอมและชมรมผู้สูงอายุ(ชมรมผู้เชี่ยวชาญชีวิต) |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 23,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววรวรรณ คำคง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี ๒๕๖๘ คาดว่า จะมีผู้สูงอายุร้อยละ ๒๐ จากประชากรทั้งหมด ร้อยละ ๘๕ ของผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ และที่ต้องพึ่งพิงคนอื่นเกือบร้อยละ ๑๕ โรคที่ผู้สูงอายุไทยเป็นกันมากและพบได้บ่อย เกิดจากปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในวัยทำงานที่สะสมต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดโรคเรื้อรังขึ้นมา เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม ฯลฯ ผลกระทบต่อร่างกายของผู้สูงอายุจากปัญหาสุขภาพในวัยสูงอายุจะทำให้คุณภาพชีวิตด้อยลง ป่วยเป็นอัมพาต พิการ และยังพบว่ามีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ ๗๐ ที่มีปัญหาทางสายตา หรือโรคตา
การพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุ ต้องพัฒนาทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสังคม เพื่อลดผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง หรือลดโรคเรื้อรัง ลดโรคแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาว ชมรมผู้สูงอายุ (ชมรมผู้เชี่ยวชาญชีวิต) หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๑๐ บ้านปลักปอม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสุขภาพและสังคมผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้คลอบคลุมหลายมิติ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสังคมของตนเอง ได้พบปะพูดคุยกัน ได้จัดกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้สูงอายุ เช่น กิจกรรมด้านสุขภาพ ด้านการประกอบอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านนันทนาการ ผู้สูงอายุมีการถ่ายทอด ภูมิความรู้ประสบการณ์ ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรมที่มีคุณค่าให้คงอยู่คู่กับชุมชนและสามารถจจัดกิจกรรมด้านสุขภาพได้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสังคมในผู้สูงอายุ
|
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
|
||
3 | เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ในผู้สูงอายุ
|
||
4 | เพื่อส่งเสริมกิจกรรมประเพณีและวัฒนธรรม
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบจากกองทุนสุขภาพตำบล
๒. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเตรียมการดำเนินงาน
๓. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
๔. สำรวจผู้สูงอายุ และคัดกรองสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน คัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อม การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะสมองเสื่อม ส่งเสริมการออกกำลัง แก่ผู้สูงอายุทุกคน
๕. ตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ และอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพที่พบเจอในผู้สูงอายุ จำนวน 1 ครั้ง
๖. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสันทนาการ จำนวน ๑ ครั้ง
๗. กิจกรรมเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
๘. จัดกิจกรรมตามประเพณี คือรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ถวายเทียนพรรษา ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า
๙. สรุปโครงการและรายงานผลโครงการ
๑. ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
๒. ผู้อายุมีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม
๓. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง
๔. ผู้สูงอายุเกิดความรัก ความสามัคคี มีการเอื้ออาทรซึ้งกันและกัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2568 05:50 น.