โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L3329-2-27 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววรวรรณ คำคง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.337779,100.111141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมี มาตราการภาครัฐสำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐานและ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจพบสารอันตรายห้ามใช้หรือสิ่งควบคุมเกินมาตรฐาน กำหนดในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆมาโดยตลอดการดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริโภค ด้านอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอางรวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ของผู้บริโภคด้านต่างๆในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ สื่อความรู้ต่างๆเข้าไม่ถึงหรือยังมีน้อย พบว่ามี ร้านค้าในชุมชน รวมทั้งรถเร่ นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ประชาชนในชุมชน ประกอบกับใน ปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชน ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภคด้านต่างๆ อาจตกเป็น เหยื่อ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาเหล่านั้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ ยาปฏิชีวนะและอาหารเสริมที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์ ทำให้เกิดการรับสารที่อันตรายและได้รับอย่าง ไม่สมเหตุสมผล ส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตของประชาชนระยะยาว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยพลังของชุมชนเป็นระบบ เครือข่าย และคณะทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่ไม่ได้ มาตรฐาน ยา ไม่ปลอดภัย การโฆษณาชวนเชื่อการเฝ้าระวังรถเร่ หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ทำให้ชุมชน ปลอดภัยจาการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชนและชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้อสม. อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในการตรวจประเมินอาหารเบื้องต้นที่ถูกต้อง
|
||
2 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการเลือกใช้อาหารอย่างปลอดภัย
|
||
3 | เพื่อให้ร้านค้าได้รับการตรวจอาหารจกชุดทดสอบอย่างถูกต้อง
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เขียนโครงการเพื่อของบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลควนเสาธง
- จัดประชุมปรึกษาภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- จัดอบรมให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
- จัดทำเอกสารแผ่นพับในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ
- ออกประเมินตรวจ แนะนำร้านชำในเขตรับผิดชอบร่วมกับภาคีเครือข่าย
- ทดสอบ/ตรวจอาหารที่จำหน่ายในเขตความรับผิดชอบ จำนวน 2 ครั้ง
- ติดตามประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
- อสม. อย.น้อย ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจในการตรวจประเมินอาหารเบื้องต้นที่ถูกต้อง
- ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการเลือกใช้อาหารอย่างปลอดภัย
- ร้านค้าได้รับการตรวจอาหารจากชุดทดสอบอย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2568 05:54 น.