กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบสุขาภิบาลในชุมชน
รหัสโครงการ 68-L3329-2-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรวรรณ คำคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาขยะ เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ซึ่งยากที่จะแก้ไขและสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ส่วนมากแล้วจะทิ้งลงข้างทางบ้าง หรือทิ้งลงตามแม่น้ำ ลำคลองบ้างและสำหรับการทิ้งขยะลงแม่น้ำจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไป  ไม่รู้จักการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ คสช.ได้กำหนดให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการสนองนโยบายและการแก้ไขปัญหาขยะ   ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในหลายๆด้าน และมีลักษณะคล้ายกันเกือบทั่วประเทศ ทำให้เกิดมลพิษทางดิน น้ำ และอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและพาหนะนำโรค ทำลายทัศนียภาพ อีกทั้งก่อให้เกิดเหตุรำคาญเกิดปัญหาเรื่องกลิ่น แมลงรบกวนในชุมชน ปัญหาด้านขยะมูลฝอยเกิดขึ้นกับชุมชนทุกแห่ง ทั้งเมืองขนาดเล็ก ถึงเมืองใหญ่ในตัวจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั้งในชุมชนเอง ตำบลบ้านกลางก็เป็นอีกหมู่บ้านที่ประสบกับปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือ การฝั่งกลบและเผากลางแจ้ง ซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปนเปื้อนของมลพิษต่อดิน แหล่งน้ำ ที่สำคัญกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและแหล่งพาหนะนำโรค ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการคัดแยกขยะและการบริหารจัดการขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทาง สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและลดพาหนะนำโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนตำบลบ้านกลาง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาชนมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลในครัวเรือน สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและชุมชน มีสุขภาพดี โรคติดต่อในหมูู่บ้านน้อยลง

 

2 ประชาชนในหมู่บ้านสามารถคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs สามารถจัดการขยะอินทรีย์ใน ครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี

 

3 เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อของบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลควนเสาธง
  2. ประสานงานขอความร่วมมือจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม โรงเรียนวัดปลักปอม และ อสม. หมู่ที่ ๕ ตำบลแม่ขรี เพื่อเข้าร่วมโครงการ 3.ประสานวิทยากร เพื่ออบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ
  4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน การคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs (Reduce ลดการใช้, Reuse ใช้ซ้ำ และ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่) การจัดการขยะอินทรีย์ แก่ อสม. ผู้นำชุมชน ประชาชน ครูและนักเรียนโรงเรียนวัดปลักปอม
  5. รณรงค์ทำความสะอาด พัฒนาชุมชน และบ้านเรือนให้สะอาดปราศจากโรคตามหลักสุขาภิบาล
  6. ส่งเสริมการคัดแยกขยะ และการทำน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ ในครัวเรือน และโรงเรียน
  7. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานโครงการ ให้เทศบาลตำบลควนเสาธง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลในครัวเรือน สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและชุมชน มีสุขภาพดี โรคติดต่อในหมู่บ้านน้อยลง
  2. ประชาชนในหมู่บ้านมีการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs และสามารถจัดการขยะอินทรีย์ใน ครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี
  3. ประชาชนในหมู่บ้าน มีส่วนร่วมในการพัฒนาและทำความสะอาดในที่สาธารณะของหมู่บ้านให้ สะอาด สวยงามตามหลักสุขาภิบาล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2568 06:16 น.