โครงการส่งเสริมทันตในเด็กปฐมวัย(ศุนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน)
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตในเด็กปฐมวัย(ศุนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน) |
รหัสโครงการ | L-4137-68-03-001 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสารีนา สุหลง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.563,101.229place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 14,300.00 | |||
รวมงบประมาณ | 14,300.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ใน ช่วงอายุ 1–3 ปี โดยประกอบด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรม ของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ทั้งโครงสร้างของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีผลต่อการดูแลรักษาฟันและการดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็กไม่ถูกวิธี จึงส่งผลให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็กการเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้น ไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก จากการสำรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 2 – 4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน ปีการศึกษา 2567 พบว่าเด็กทั้งหมดจำนวน 38 คน มีเด็กที่ปราศจากฟันผุจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 23.68 และเด็กที่มีปัญหาโรคฟันน้ำนมผุ จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 76.31 ซึ่งถือว่าเข้าสู่ขั้นวิกฤตแล้ว ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัย และการให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตในเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนันที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังด้านสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัย ร้อยละ 80 เด็กได้รับการส่งเสริมและเฝ้าระวังด้านสุขภาพช่องปาก |
||
2 | เพื่อลดปัญหาฟันผุในเด็กปฐมวัย และส่งเสริมสุขภาพปากที่ดีในระยะยาว ร้อยละ 80 เด็กมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพฟันที่ดีขึ้น |
||
3 | เพื่อให้บุคลากร ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ร้อยละ 90 ของบุคลากร ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กับเด็กที่ถูกต้อง |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมส่งเสริมทันตในเด็กปฐมวัย | 79 | 14,300.00 | ✔ | 14,300.00 | |
รวม | 79 | 14,300.00 | 1 | 14,300.00 |
81 เด็กมีการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพมากขึ้น 82 เด็กสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธีและมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 8.3 บุคลากรและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการช่วยส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพในเด็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 09:36 น.