กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนบ้านตาสา ห่างไกลจากภัยสุขภาพ
รหัสโครงการ L4137-68-02-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตาสา เงินอุดหนุนอื่น
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัสฮาร์ บาฮอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2568 30 ก.ย. 2568 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 1 บททั่วไปมาตรา 6 ได้กำหนด การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนา คนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เนื่องจากในยุดโลกาภิวัตน์ สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่เฉพาะแต่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องสถานการณ์ด้านสุขภาพของคนไทยและระบบการบริการด้านสาธารณสุขของประเทศไทย เท่านั้น แต่พบว่ายังคงมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบสุขภาพไทยในอนาคต ภัยสุขภาพ หมายถึง สถานการณ์ สภาวการณ์หรือเหตุการณ์สาธารณภัยที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ การเสียชีวิต การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วย หมายรวมถึงเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน กระทบกระเทือนต่อขีดความสามารถในการปฏิบัติงานตามปกติของบุคคล โรงเรียนบ้านตาสา จึงเห็นความสำคัญในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็ก ได้ขยับร่างกาย เล่นกีฬาออกกำลังกายของนักเรียนตลอดจนการป้องกันการจมน้ำและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการนำกิจกรรมที่มีความหลากหลายและมีความดึงดูดใจ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด รวมถึงการสร้างครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ ขยายเครือข่ายการดำเนินโครงการไปยังโรงเรียน ชุมชน และประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีส่วนร่วม ในโครงการดังกล่าวจึงได้จัดกิจกรรมการว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำได้ ปลอดภัยจากการจมน้ำและห่างไกลยาเสพติด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน มีความรู้และทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ
  • ร้อยละ 80 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีความรู้ และทักษะการว่ายน้ำ สามารถปฏิบัติตนป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรม นำไปสู่การปฏิบัติ การป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด อบายมุข ได้อย่างถูกต้อง
  • ร้อยละ 80 ของนักเรียนช่วงชั้นที่1  มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกายและสุขภาพอนามัย
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และการป้องกันภัยจากสุขภาพด้านการจมน้ำ(1 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 9,000.00              
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับพิษภัยและโทษของยาเสพติด(1 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 1,000.00              
รวม 10,000.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และการป้องกันภัยจากสุขภาพด้านการจมน้ำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 9,000.00 1 9,000.00 0.00
17 มี.ค. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ในการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กนักเรียน สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๒ จำนวน 40 คน 40 9,000.00 9,000.00 0.00
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับพิษภัยและโทษของยาเสพติด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 1,000.00 1 1,000.00 0.00
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับ พิษภัยและโทษของยาเสพติด สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 จำนวน 20 คน 20 1,000.00 1,000.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 60 10,000.00 2 10,000.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 นักเรียนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพที่ดีมากขึ้น 8.2 นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 8.3 โรงเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ 8.4 นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกายและสุขภาพ 8.5 นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากยาเสพติดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 10:48 น.