โครงการแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการอ้วนหรือเริ่มอ้วน ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการอ้วนหรือเริ่มอ้วน ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4140-2-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดลำพะยา “มิ่งชูชาติ-ขวัญราษฎร์นารี” |
วันที่อนุมัติ | 22 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 18,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนิธิมา โยธาทิพย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.584,101.162place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเต็มไปด้วยความ เร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัว และเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป เข้ามามีบทบาทโดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการติดเกมส์ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วน อันตรายของโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย จากข้อมูลระบบ HealthData Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า เด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน และมีอัตราการเพิ่มจำนวนขึ้นทุกๆปี เด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆได้มากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น นอกจากนี้ในกรณีที่เด็กที่ป่วยด้วยโรคอ้วนขั้นรุนแรง มีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือทำให้เกิดกลุ่มอาการ Pickwickian Syndrome ส่งผลขัดขวางต่อการเรียนหนังสือ ทำให้ง่วงนอนทุกครั้งที่นั่งเรียน
โรงเรียนวัดลำพะยา “มิ่งชูชาติ-ขวัญราษฎร์นารี” ได้เล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการเกิดโรคอ้วน อันตรายของโรคอ้วนในเด็ก จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการอ้วนและเริ่มอ้วน เพื่อให้เด็กเรียน มีพฤติกรรมสุขภาพ การดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และให้ห่างไกลจากโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารเพื่อภาวะโภชนาการที่ดี
|
||
2 | ๒. เพื่อลดจำนวนเด็กอายุ ๖ - ๑๒ ปีที่มีน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง
|
||
3 | ๓. เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการอ้วนหรือเริ่มอ้วน และผู้ปกครองได้เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการอ้วนหรือเริ่มอ้วน ให้แก่นักเรียนและคณะครูโรงเรียนวัดลำพะยา “มิ่งชูชาติ ขวัญราษฎร์นารี” จำนวน 70 คน ระยะเวลาการอบรม 2 วัน | 70 | 18,000.00 | - | ||
รวม | 70 | 18,000.00 | 0 | 0.00 |
๑. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงการในการบริโภคอาหารเพื่อภาวะโภชนาการที่ดี
๒. เพื่อต้องการลดจำนวนเด็กอายุ ๖ - ๑๒ ปี ที่มีน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง
๓. ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการอ้วนหรือเริ่มอ้วน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 11:01 น.