โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน PLUS สู่ 2,500 วัน ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน PLUS สู่ 2,500 วัน ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5310-2-6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาขาว |
วันที่อนุมัติ | 28 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซีตีลานี ยาประจัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวมุศิรา สอเหลบ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.921489,99.830808place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 28 เม.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 30,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 30,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทย มีประเด็นความท้าทายการพัฒนาในหลายมิติที่กำลังเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วรวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยทำงานลดลง ในขณะเดียวกันประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดทิศทาง การพัฒนาในระยะยาว ที่จะมุ่งสู่วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และสามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ใหม่ของโลกได้” จึงมีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ
ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นน้ำของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและ การเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาท ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการ เจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 – 3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพ ผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ
การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุขมีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์(ANC) คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC) คุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ 66 เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 )เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข
จากการติดตามภาวะโภชนาการเขตรับผิดชอบ รพ.สต.เขาขาว พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง 1 ราย ร้อยละ 10.00 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม 18 ราย ร้อยละ 5.56 ในเด็ก 0- 5 ปี ไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2568 ผลเด็กเตี้ย 20คน ร้อยละ 5.88 ค่อนข้างผอม28 คนร้อยละ 8.23 และเด็กเริ่มอ้วนและอ้วน 15 คนร้อยละ 4.41 มีพัฒนาการสมวัย ปี 2567213 คน ร้อยละ 75 ข้อมูลจาก HDC จังหวัดสตูล
ตำบลเขาขาวจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทย เติบโต เต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น |
75.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น |
75.00 | |
3 | เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง |
14.00 | |
4 | เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว |
60.00 | |
5 | เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนและมีพัฒนาการตามวัย เด็ก 0-5 ปีสูงดีสมส่วน |
68.00 | |
6 | เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย เด็ก 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ และมีพัฒนาการสมวัย |
88.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | |
23 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน PLUS สู่ 2,500 วัน | 0 | 1,250.00 | - | ||
23 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด | 0 | 11,350.00 | - | ||
23 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยพร้อมผู้ปกครองหรือผู้ดูแล | 0 | 17,400.00 | - |
1.เกิดความร่วมมือผ่านภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน 2.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้ 3.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เรื่องภาวะโภชนการในระหว่างตั้งครรภ์และภาวะซีด พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนครอบครัวและเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ 4.ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือ DSPM ตรวจพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง 5.เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 00:00 น.