โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโกตาบารู |
วันที่อนุมัติ | 18 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 37,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางคอรีเยาะ สลีมิน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.452,101.345place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นงานสาธารณสุขที่มีความสำคัญมากซึ่งมีผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนไทย โรคติดต่อหลายโรคในประเทศไทยลดลง ด้วยการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างครอบคลุมทั่วถึง และต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กรภาครัฐเพื่อให้การดำเนินงานมุ่งสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้ว หมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคต
ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุด และมีความต่อเนื่องตลอดไป
พื้นที่ตำบลโกตาบารู การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเด็กอายุ 0-5 ปี ในปีพ.ศ. 2567 พบว่า เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 82.09 เด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 14.91 และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย คิดเป็นร้อยละ 9.58 ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการทบทวนการดำเนินงานการเร่งรัดติดตาม ค้นหาเด็กในกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับบริการวัคซีนครบตามเกณฑ์ และต้องอาศัยกลุ่มองค์กรอื่นๆที่อยู่ภายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพื่อส่งเสริม พัฒนางานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้เด็กในพื้นที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดี
ตารางแสดงผลการดำเนินงานความคลอบคลุมของการได้รับวัคซีนตำบลโกตาบารู ปีงบประมาณ 2567 ความครอบคลุมวัคซีน ผลงานปี 67 (ร้อยละ) เด็ก0-5ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 82.09 เด็ก0-5ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 14.91 เด็ก0-5ปี ไม่ได้รับวัคซีนเลย 9.58
บทวิเคราะห์ จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ผลการปฏิบัติงานภาพรวมย้อนหลัง 1 ปี มีแนวโน้มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้ดังนี้ ความไม่เชื่อถือในตัวบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กไม่ตระหนักและไม่เห็นความสำคัญของวัคซีน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาอาสาสมัครสาธารณสุข ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ทำให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ไม่สามารถที่จะบรรลุเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดได้ เพื่อให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคบรรลุตามตัวชี้วัดและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ มีความจำเป็นต้องอาศัยกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่อยู่ภายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
ผู้ปกครองมีความตระหนัก และเห็นความสำคัญเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเด็กอายุ 0-5 ปี ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงาน และเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 11:41 น.